พระเครื่องของ หลวงพ่อทวด ถึงแม้ว่าท่านไม่ได้สร้างเองแต่ในความศักดิ์สิทธิ์นั้น คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ ความนิยมในวัตถุมงคลหรือ พระเครื่อง หลวงปู่ทวด วัดช้างให้  นั้นถือว่าเป็นอมตะควบคู่ไปกับตำนานเล่าขานสืบต่อกันไป ประวัติหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ซึ่งผู้สร้างตำนานแห่งความศักดิ์สิทธิ์ คือ พระอาจารย์ทิม ธมฺมธโร(พระครูวิสัยโส� ณ)
 
วัดช้างให้

ประวัติวัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้)
    วัดราษฎร์บูรณะ หรือวัดช้างให้ ตั้งอยู่ที่ตำบลควนโนรี อำเ� อโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ชิดกับทางรถไฟสายใต้ (ระหว่างหาดใหญ่-ไปยะลา) วัดช้างให้สร้างขึ้นเมื่อใด ใครเป็นคนสร้างครั้งแรกก็ยังหาหลักฐานแน่นอนไม่ได้ มากนัก ก็พอจะอ้างอิงตามหนังสือตำนานเมืองปัตตานีได้บ้าง ซึ่งหนังสือตำนานเมืองปัตตานีรวบรวมโดย พระศรีบุรีรัฐพิพิธ (สิทธิ์ ณ สงขลา) ดังบทความตอนหนึ่งว่า
     สมัยพระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรี ปรารถนาต้องการจะหาที่ เพื่อที่จะสร้างเมืองให้ “เจ๊ะสิตี”น้องสาวครอบครอง เมื่อโหรหาฤกษ์ยามดีได้เวลา ท่านเจ้าเมืองก็เสี่ยงสัตย์อธิฐานปล่อยช้างตัวสำคัญคู่บ้านคู่เมืองออกเดิน ป่าหรือเรียกว่า “ช้างอุปการ” เพื่อหาที่ชัย� ูมิดีสร้างเมือง ท่านเจ้าเมืองก็ยกพลบริวารเดินตามหลังช้างนั้นไปเป็นเวลาหลายวัน วันหนึ่งช้างได้เดินไปหยุดอยู่ ณ ที่ป่าแห่งหนึ่ง(ที่วัดช้างให้เวลานี้) แล้วเดินวนเวียนร้องขึ้น 3 ครั้งพระยาแก้มดำถือเป็นนิมิตที่ดีจะสร้างเมือง ณ ที่ตรงนี้ แต่น้องสาวตรวจดูแล้วไม่ชอบ พี่ชายก็อธิษฐานให้ช้างดำเนินหาที่ใหม่ต่อไป ได้เดินรอนแรมหลายวัน เวลาตกเย็นวันหนึ่งก็หยุดพักพลบริวารน้อง สาวถือโอกาสออกจากที่พักเดินเล่น บังเอิญขณะนั้นมีกระจงสีขาวผ่องตัวหนึ่ง วิ่งผ่านหน้านางไปนางอยากจะได้กระจงขาวตัวนั้น จึงชวนพวกพี่เลี้ยงวิ่งไล่ล้อมจับ กระจงตัวนั้นได้วิ่งวกไปเวียนมาบนหาดทรายอันขาวสะอาดริมทะเล ( คือตำบล กือเซะเวลานี้ ) ทันใดนั้น กระจงก็ได้อันตรธานหายไป นางเจ๊ะสิตี รู้สึกชอบที่ตรงนี้มากจึงขอให้พี่ชายสร้างเมืองให้ เมื่อพระยาแก้มดำปลูกสร้างเมืองให้น้องสาว และมอบพลบริวารให้ไว้พอสมควรเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ชื่อเมืองนี้ว่า “เมืองปะตานี” ( ปัตตานี ) ขณะนั้นพระยาแก้มดำเดินทางกลับมาถึง� ูมิประเทศที่ช้างบอกให้ครั้งแรก ก็รู้สึกเสียดายสถานที่ จึงตกลงใจหยุดพักแรมทำการแผ้วถางป่า และปลูกสร้างขึ้นเป็นวัดให้ชื่อว่า “วัดช้างให้” มาจนบัดนี้ ต่อมาพระยาแก้มดำ ก็ได้มอบถวายวัดช้างให้ แก่ “ท่านลังกา”ครอบครอง พระ� ิกษุชราองค์นี้ท่านอยู่เมืองไทรบุรีเขาเรียกว่าท่านลังกาเมื่อท่านมา อยู่วัดช้างให้ชาวบ้านเรียกว่าท่านช้างให้เป็นเช่นนี้ตลอดมา

     สมัยโบราณนั้น คนมลายูนับถือศาสนาพุทธ พระยาแก้มดำคนมลายูจึงได้สร้างวัดช้างให้ขึ้น อ้างตามหนังสือของพระยารัตน� ักดี เรื่องปัญหาดินแดนไทยกับมลายู หน้า 8 บรรทัด 16 ในหนังสืออิงตามประวัติศาสตร์ว่า พ.ศ.1300 กษัตริย์ครองกรุงศรีวิชัยแห่งปาเล็มบัง มีอานุ� าพแผ่ไพศาลอาณาเขตเข้ามาถึงแหลมมลายู และได้ก่อสร้างสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาไว้หลายแห่ง มีผู้พบศิลาจารึกแผ่นหนึ่งที่ นครศรีธรรมราช บันทึกว่า เมื่อพ.ศ.1318 เจ้าเมืองศรีวิชัย ได้มาก่อสร้างพระเจดีย์ที่นครศรีธรรมราชและที่สำคัญอีกแห่งคือ พระพุทธไสยาสน์ในถ้ำที่� ูเขา (วัดหน้าถ้ำ) ตำบลหน้าถ้ำ อำเ� อเมืองยะลา จังหวัดยะลา คาดว่าสร้างเมื่อสมัยกรุงศรีวิชัย ระหว่างพ.ศ.1318-1400 ต่อมามีการปฎิสังขรณ์เพิ่มเติมตามที่เห็นในปัจจุบัน

ขณะที่ท่านลังกา"หลวงพ่อทวด"พำนัก อยู่ที่วัดในเมืองไทรบุรีวันหนึ่งอุบาสก อุบาสิกา และลูกศิษย์อยู่พร้อมหน้าท่านได้พูดขึ้นในกลางชุมนุมนั้นว่า ถ้าท่านมรณ� าพเมื่อใดขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย และขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเน่าไหลลงสู่พื้นดินที่ตรงนั้นจงเอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้าง หน้าจะเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ อยู่มาไม่นานท่านก็ได้มรณ� าพลงด้วยโรคชราคณะศิษย์ผู้เคารพในตัวท่านก็ได้ จัดการตามที่ท่านสั่งโดยพร้อมเพรียงกันเมื่อทำการฌาปณกิจศพท่านเรียบร้อย เมื่อ พ.ศ.2501 พระครูวิสัยโส� ณ ได้เดินทางไปบูชามาแล้วทุกสถานที่ แต่ละสถานที่ก็มีส� าพเหมือนสถูปที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อทวดที่ วัดช้างให้เมื่อครั้งยังไม่ได้ตบแต่งสร้างใหม่สอบถามชาวบ้านแถบๆนั้นดู ต่างก็เล่นถึงเรื่องราวที่สืบทอดต่อกันมาให้อาจารย์ทิมและคณะฟังว่าเป็นสถาน ที่ตั้งศพหลวงพ่อทวด เมื่อมาพักแรมมีน้ำเหลืองหยดตกลงพื้นก็เอาไม้ปักทำเครื่องหมายไว้ บางแห่งก็ก่อสร้างเป็นสถูปเจดีย์ก็มี แล้วคณะศิษย์ผู้ไปส่งได้ขอแบ่งเอาอัฐิของท่านแต่ส่วนน้อยนำกลับไปทำสถูปที่ วัด ณ เมืองไทรบุรีไว้เป็นที่เคารพบูชาตลอดจนบัดนี้สมเด็จเจ้าพะโคะกับท่านช้างให้ หรือ"หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" นี้สมัยท่านยังมีชีวิต มีชื่อที่ใช้เรียกท่าน หลายชื่อเช่น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ ท่านลังกา และท่านช้างให้ แต่เมื่อท่านมรณ� าพแล้วเรียกเขื่อนหรือสถูปศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอัฐิของท่าน ว่า “เขื่อนท่านช้างให้” เขื่อน หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด (คำว่าเขื่อนเป็น� าษพื้นเมืองทางใต้ หมายถึงสถูปที่บรรจุอัฐิของท่านผู้มีบุญนั่นเอง) เมื่อ พ.ศ. 2480 พระครูมนูญสมณการ วัดลานุ� าพ ได้ชวนชาวบ้านช้างให้และใกล้เคียงไปทำการแผ้วถางวัดร้างแห่งนี้ โดยจัดบูรณะให้เป็นวัดมีพระสงฆ์เข้าจำพรรษาและในปีนั้นเอง ได้ให้พระ� ิกษุช่วงมาอยู่ก็ได้มีการจัดสร้างถาวรวัตถุ ขึ้น เช่นศาลาการเปรียญ และกฏิ2-3หลัง ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2484 พระ� ิกษุช่วงก็ได้ลาสิกขาบท วัดช้างให้จึงขาดเจ้าอาวาสและผู้นำลง พระครู� ัทรกรณ์โกวิท เจ้าอาวาสวัดนาประดู่ จึงได้ให้พระ� ิกษุทิม (พระครูวิสัยโส� ณ) ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ตามที่ชาวบ้านขอมา
     พระ� ิกษุทิม ได้ย้ายไปอยู่วัดช้างให้ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2484 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น15ค่ำเดือน8 พระ� ิกษุทิม มาอยู่วัดช้างให้ตอนแรก ก็ไปๆมาๆอยู่กับวัดนาประดู่ กลางวันต้องไปสอนนักธรรมวัดนาประดู่

 
สถูปศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอัฐิของหลวงพ่อทวด ว่า “เขื่อนท่านช้างให้”
พระอาจารย์ทิม และพระอาจารย์นอง

    สถูปบรรจุอัฐิ"หลวงพ่อทวด"นั้น พระครูวิสัยโส� ณ และพระครูธรรมกิจโกศล (พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว) ได้ปรึกษาหารือกันตกลงให้รื้อขุดของเก่าขึ้นมาเพื่อสร้างใหม่ แต่เมื่อขุดลงไปก็ได้พบหม้อทองเหลืองและมีอัฐิหลวงพ่อทวดห่อผ้าอยู่ในหม้อ ทองเหลืองอีกชั้นหนึ่ง หม้อทองเหลืองได้ผุเปื่อย ไม่กล้าเอามือจับต้องเพราะเกรงส� าพจะผิดเปลี่ยนไปจากส� าพเดิม จึงได้จัดสร้างสถูปสวมครอบลงบนสถูปเดิม ซึ่งปรากฏตามที่เห็นมาในปัจจุบัน วัดช้างให้ มีชื่อเต็ม ๆ ว่า วัดราษฎร์บูรณะ อยู่ที่ ตำบลควนโนรี อำเ� อโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ห่างจากปัตตานีประมาณ 26 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 1,032 กิโลเมตร ไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 กุม� าพันธ์ พ.ศ. 2500 ตามพระราชกิจจานุเบกษาเล่ม 74 ตอน 15 หน้า 451 - 252 เขตวิสุงคามสีมายาว 80 เมตร กว้าง 40 เมตร ทำพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ วันเสาร์ที่ 31 พฤษ� าคม พ.ศ. 2501 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ มีที่ดินที่ตั้งวัดเป็นเนื้อที่จำนวน 12 ไร่ ตามหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ค. 1 เลขที่ 334/2498
ประวัติหลวงปู่ทวด ในหนังสือหลวงพ่อทวดของ สมพงษ์ หนูรักษ์ว่า กล่าวว่า
1. ท่านลังกา องค์ท่านดำ ไม่ทราบชื่อเดิม � ูมิลำเนาเดิมที่ใดเป็นเพียงขนานนาม
2. หลวงพ่อสี
3. หลวงพ่อทอง
4. หลวงพ่อจันทร์
5. หลวงพ่อทิม (อาจารย์ทิม ธมฺมธโร) หรือพระครูวิสัยโส� ณ ๑ ตำนานที่เล่าขานสืบต่อมาจากคนเฒ่าคนแก่บอกว่าวัดช้างให้หมายความว่าที่ดิน วัดนี้ ช้างบอกให้ เป็นวัดโบราณแห่งหนึ่ง มีอายุประมาณ ๔๐๐ กว่าปี มีเจ้าอาวาสปกครองวัดดังนี้
1. สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ไม่สามารถระบุปีพุทธศักราชได้
2. พระช่วง พ.ศ. 2480 ถึง พ.ศ. 2483
3. พระครูวิสัยโส� ณ (ทิม ธมฺมธโร) พ.ศ. 2483 ถึง พ.ศ. 2512
4. พระครูใบฎีกาขาว ธมฺมรกฺขิโต พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2521
5. พระไพศาลสิริวัฒน์ (สวัสดิ์ อรุโณ) พ.ศ. 2521 ถึง 2543

6. พระครูปริยัติกิจโส� ณ (สายันต์ จนฺทสโร) พ.ศ. 2543 ถึงปัจจุบัน
 
พระครูวิสัยโส� ณ หรือ พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้

ประวัติพระครูวิสัยโส� ณ(อาจารย์ทิม)
พระครูวิสัยโส� ณ นามเดิมชื่อ ทิม นามสกุล พรหมประดู่ เกิดวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2455 ปีชวด ณ บ้านนาประดู่ ตำบลนาประดู่ อำเ� อโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นบุตรของ นายอินทอง นางนุ่ม พรหมประดู่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน6คน
     1.นายเพิ่ม พรหมประดู่
     2.พระครูวิสัยโส� ณทิม (ทิม พรหมประดู่)
     3.ด.ช.แว้ง พรหมประดู่ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
     4.พระครูใบฎีกาขาว
     5.ด.ญ.แจ้ง พรหมประดู่ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
     6.นายเคี่ยม พรหมประดู่
การศึกษาเมื่อปฐมวัย เมื่ออายุได้ 9ปี บิดามารดาได้นำไปฝากให้อยู่กับพระครู� ัทรกรณ์โกวิท(เมื่อยังเป็น พระ� ิกษุแดง ธมมโชโต) เจ้าอาวาสวัดนาประดู่ ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้านเพื่อให้เรียนหนังสือ และได้เข้าเรียนทีโรงเรียนวัดนาประดู่ เรียนได้เพียง ป.3 แล้วออกจากโรงเรียน แต่ก็ยังอยู่กับพระ� ิกษุแดง เรียนหนังสือสวดมนต์
     เมื่ออายุได้18ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดนาประดู่ ตำบลนาประดู่ อำเ� อโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 7มิถุนายน 2476
พระครูพิบูลย์สมณวัตร เจ้าคณะใหญ่เมืองหนองจิก วัดมุจลินทวาปีวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการพุฒ ติสสโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการแก้ว เป็นอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนาประดู่ 2พรรษา แล้วยังไปอยุ่สำนักวัดมุจลินทวาปีวิหาร เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ครั้นต่อมาได้กลับมาเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมวัดนาประดู่ ในระหว่างที่เป็นครูสอนนั้น ได้จัดการสร้างกุฏิขึ้น 1หลัง โดยร่วมกันสร้างกับพระ� ิกษุนอง ธมม� ูโต(อาจารย์นอง วัดทรายขาว)
วิทยฐานะในทางพระ สอบนักธรรมชั้นเอกได้ในสนามหลวงวัดพลานุ� าพ จังหวัดปัตตานี เมื่อ พ.ศ.2487 ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2484 ขึ้น 15ค่ำ เดือน8 ปีมะเส็ง จ.ศ.1303

    
สรุปหน้าที่ตำแหน่งและสมณะศักดิ์
พ.ศ.2481-84 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมวัดนาประดู่
พ.ศ.2484 ย้ายไปเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้)
พ.ศ.2491 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้)
พ.ศ.2493 เป็นกรรมการสงฆ์อำเ� อโคกโพธิ์ ตำแหน่งเผยแผ่อำเ� อ
พ.ศ.2499 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นพระครูวิสัยโส� ณ
พ.ศ.2508 ได้รับเลื่อนสมณะศักดิ์ในนามเดิม เป็นพระครูชั้นโทพัดยศขาว ฝ่ายวิปัสสนา
พ.ศ.2509 ได้รับตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.2510 ได้เริ่มอาพาธ
- วันที่ 5 พฤศจิกายน 2512 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช หนึ่งสัปดาห์ แล้วกลับไปพักที่วัดเอี่ยมวรนุช บางขุนพรหม 2-3 วันด้วยเหตุยังไม่ตกลงใจผ่าตัดหรือไม่ “ตกลงไม่ผ่า”
- วันที่ 7พฤศจิกายน 2512 ได้ทำหนังสือพินัยกรรม ที่วัดเอี่ยมวรนุช ให้ผู้ที่มีรายชื่อ5ท่าน เป็นผู้รับมอบพินัยกรรม จัดการทรัพย์สินของวัดและดำเนินการในเรื่องต่างๆ
- วันที่ 17 พฤศจิกายน 2512 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกลาง จนกระทั่งถึงวันที่30 พฤศจิกายน 2512 เวลา 00.37 น. มรณ� าพ
- วันที่ 24 พฤศจิกายน 2518 พระราชทานเพลิงศพ ท่านอาจารย์ทิม ที่วัดช้างให้ ปัตตานี

 
 

สถูปหลวงพ่อทวด วัดช้างให้

ประวัติหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ อันมีสถูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบรรจุอัฐิ หลวงพ่อทวด สถูปนี้ตั้งใกล้กับทางรถไฟ  อดีตวัดแห่งนี้ ประวัติวัดช้างให้เคย เป็นวัดร้างแต่ละครั้งแต่ละหนเป็นเวลาห่างกันนานๆ ตั้งสิบกว่าปีหรือบางครั้งถึงร้อยปีก็มีในปี พ.ศ.2484 พระครูวิสัยโส� ณ หรือในที่รู้จักกันในนาม ท่านอาจารย์ทิม ธมมธโร ได้เข้ามาครอบครองเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 5 ได้ทำการบูรณะวัดต่อเติมจนเรียบร้อย ทำให้วัดช้างให้สะอาดสะอ้านขึ้นมาก ทางด้านสถูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบรรจุอัฐิของ หลวงปู่ทวด ประดิษฐานอยู่ที่หน้าวัด เป็นที่จูงใจประชาชนหลายชาติหลาย� าษาได้มาเคารพบูชาเป็นจำนวนมากทุกวัน
      หลังจากท่านอาจารย์ทิม ฝันว่าได้พบกับ หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนอยู่ในเวลานี้ วันหนึ่งท่านอาจารย์ทิมนึกสนุก จึงเก็บเอาก้นเทียนที่ตกอยู่ริมเขื่อน(สถูป) มาคลึงเป็นลูกอมแล้วแจกจ่ายให้กับเด็กวัดไป แต่ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์แก่ท่าน เมื่อเด็กได้ลูกอมก้นเทียนไปแล้ว ก็เอาลูกอมสีผึ้งนี้อมในปาก แล้วลองแทงฟันกันด้วยมีดพร้าและของมีคม แต่แทงฟันกันไม่เข้าเลย จนเรื่องทราบถึงอาจารย์ทิม ท่านก็ตกใจเพราะเกรงเป็นอันตรายกับเด็ก จึงเรียกเด็กมาอบรมสั่งสอนห้ามไม่ให้ทดลองกันต่อไป
      หลังจากนั้นท่านเริ่มสนใจในคำปวารณาของ"หลวงพ่อทวด"ว่า

&a
12 โชว์พระ เหรียญเสมาหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด หัวโต รุ่นแรก อาจารย์นอง เนื้อเงิน พ.ศ.2536 0 Visitor 130186
11 โชว์พระ เหรียญเสมาหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด หัวโต รุ่นแรก อาจารย์นอง เนื้อนวะ พ.ศ.2536 0 Visitor 132112
10 โชว์พระ รูปหล่อ หลวงพ่อทวด พิมพ์บัวรอบ อาจารย์นอง พ.ศ. 2541 จีวรมีโค้ดยันต์อุ 0 Visitor 130503