โชว์ รูปถ่าย หลวงพ่อจิต วัดควนจง 
 
 
 
 
 
ท่านประอาจารย์มั่น � ูริทัตตเถระ เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2413 ที่บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

บิดาชื่อนายคำด้วง แก่นแก้ว มารดาชื่อนางจันทร์ ปู่ของท่านชื่อ เฟี้ยแก่นท้าว มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 9 คน ท่านเป็นบุตรชายคนหัวปี

ท่านพระอาจารย์มั่นรูปร่างเล็ก ผิดขาวแดง ลักษณะเข้มแข็ง ว่องไว สติปัญญาเฉลียวฉลาดมาตั้งแต่เล็ก ๆ สมัยนั้นไม่มีโรงเรียนประชาบาล ใครจะเรียนหนังสือต้องเข้าวัด เป็นลูกศิษย์วัด

 

                                                               สามเณรมั่น

พระอาจารย์ได้เข้าอยู่วัดเมื่ออายุได้ 15 ปี และบวชเป็นสามเณรที่วัดบ้านคำบง เล่าเรียนอักษรไทย อักษรธรรมและอักษรขอม

เนื่องจากท่านมีสติปัญญาเฉลี่ยวฉลาดมาก สนใจใคร่รู้ธรรมะประจำนิสัย ทำให้สามารถเรียนรู้สูตรต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เป็นที่ยกย่องชมเชยของครูบาอาจารย์

ประกอบกับมีนิสัยความประพฤติเรียบร้อย ใจคอเยือกเย็น ไม่โกรธใครง่าย ๆ ให้อ� ัยคนอื่น มองคนอื่นในแง่ดีงามอยู่เสมอ ท่านจึงเป็นที่รักใคร่ของหมู่คณะและครูบาอาจารย์เป็นพิเศษ

บวชเป็นสามเณรอยู่ 2 ปี อายุได้ 17 นายคำด้วงบิดาจึงขอร้องให้สึก เพื่อให้มาช่วยเลี้ยงวัวเลี้ยงควายทำไร่ไถนา เป็นการแบ่งเบา� าระของบิดามารดาของน้อง

ทีแรกพระอาจารย์มั่นจะไม่ยอมสึกเพราะมีจิตใจดื่มด่ำรักในพระธรรมวินัยอย่างลึกซื้ง ใคร่รู้ใคร่เห็นธรรมอยากจะเล่าเรียนต่อไป แต่ทนอ้อนวอนของบิดาไม่ไหว จึงจำใจสึกออกมาช่วยทำนา


ครั้นต่อมาอีก 5 ปี อายุได้ 22 ปี พระอาจารย์มั่นก็ได้บวชเป็นพระ� ิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธศาสนาสมความตั้งใจ

 

 

                                                        หนุ่มวัยคะนอง

ในระยะ 5 ปี ระหว่างอายุ 17-22 ก่อนบวชพระนี้ พระอาจารย์มั่นก็เหมือนคนหนุ่มวัยคะนองทั้งหลายนั่นเอง

เมื่อถึงฤดูกาลทำนา ท่านก็ทำนาช่วยบิดามารดาและน้อง ๆ อย่างขยันขันแข็ง เวลาไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควายกับเพื่อนฝูง ท่านก็สมาคมกับเด็กเลี้ยงวัวเลี้ยงควายลูกชาวบ้านเดียวกัน มีการเล่นหัวกันอย่างสนุกสนานร่าเริงด้วยเกมต่าง ๆ และหัดร้องรำทำเพลงไปตามประสา

เมื่อถึงฤดูเทศกาลงานบุญก็เที่ยวเตร่เฮฮาสนุกรื่นเริงบันเทิงใจตามวิสัยโลกธรรมชาวบ้าน

ท่านมีความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับขับลำนำคำร้องพื้นบ้านอันไพเราะ โดยเฉพาะ "กลอนหมอลำ" ท่านได้ไปขอหนังสือกลอนลำเพลงมาจากครูหมอลำคนหนึ่ง แล้วฝึกหัดลำท่วงทำนองต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

แคนท่านก็เป่าเก่งด้วยสมองอันยอดเยี่ยม ความจำรวดเร็วแม่นยำ ปรากฎว่าท่านสามารถลำเพลงพื้นบ้านได้อย่างรวดเร็ว สิ้นตำราจนครูหมอลำอัศจรรย์ใจ

ท่านสามารถลำล่องโขงได้อย่างไพเราะมาก กลอนแอ่วล่องโขงของท่านใครได้ฟังแล้วต้องเคลิบเคลิ้มน้ำตาซึมทีเดียว ลำกลอนเดินดงดั้นป่าชมนกชมได้ในพนาท่านก็ยอดเยี่ยม

ลำเกี้ยวสาว ลำแก้ ลำกระแตเต้นไม้ท่านก็เก่ง เรียกว่าเป็นหมอลำเพลงแคนสมัครเล่นที่เพื่อนฝูงและชาวบ้านยกย่อง และมักจะขอร้องให้ท่านขับลำทำเพลงให้ฟังเพื่อความสนุกครึกครื้นอยู่เสมอ

  
                                                        หาญสู้แม่เสือสาว

มีเรื่องสนุกสนานขำขันอยู่เรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องขับลำทำเพลงแคนของพระอาจารย์มั่น เรื่องมีอยู่ว่า

คราวหนึ่งชาวบ้านได้จัดงานบุญขึ้นใหญ่โต มีคนไปเที่ยวมากมายเป็นพัน ๆ จากหมู่บ้านต่าง ๆ ในลำเนาละแวกถิ่นโขงเจียม ทางเจ้า� าพได้ว่าจ้างหมอลำสาวผู้มีชื่อเสียงโด่งดังคนหนึ่งมาลำแคนในงานนี้

พระอาจารย์มั่นตอนนั้นเป็นหนุ่มคึกคะนองยังไม่ได้บวชพระ ท่านเกิดนึกสนุกขึ้นมา กระโดดขึ้นไปบนเวทีหมอลำ ขอลำเพลงประชันกับหญิงสาวผู้นั้น

หมอลำสาวยินดีที่จะลำประชันกับท่าน เพื่อนฝูงที่ไปด้วยต่างก็ตกตะลึงไปตาม ๆ กัน พอได้สติก็พากันคัดค้านห้ามปรามหนุ่มมั่นไม่ให้ลำเพลงประชันกับหญิงสาว เพราะรู้ดีว่าหญิงสาวสวยผู้นั้นลำเก่งมาก

ยิ่งลำกลอนสด ๆ แล้วละก็เป็นต้อนคู่แข่งที่เป็นหมอลำผู้ชายถึงกับจนแต้มต้องกระโดดหนีลงจากเวทีมาแล้วหลายงาน เพื่อนฝูงกลัวหนุ่มมั่นจะแพ้ห้าแต้มไม่เป็นท่า เพราะเป็นเพียงหมอลำเพลงสมัครเล่น เดี๋ยวจะเป็นที่อับอายขายหน้าชาวบ้านไปเปล่า ๆ ไม่เข้าการ

แต่ท่านมั่นกลับหัวเราะไม่ฟังเสียงคัดค้านของเพื่อน ๆ ยืนยันจะขับเพลงลำโต้กับหญิงสาวให้ได้ จะโต้กันตลอดรุ่งก็ยังไหวไม่มีกลัว

เพื่อน ๆ ก็ล้อว่า เจ้ามั่นหลงรักสาวหมอลำคนสวยเข้าให้แล้ว จะทำตัวเป็นแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ เมื่อห้ามไม่เชื่อ เพื่อนฝูงก็ปล่อยเลยตามเลย

พอเพลงแคนเริ่มต้นขึ้น ท่านหนุ่มมั่นก็ขับลำเพลงอันไพเราะเจื่อยแจ้วอย่างอาจหาญร่าเริ่งเชื่อมั่นในตัวเอง ท่ามกลางเสียงปรบมือโห่ร้องต้องรับของคนดูดับพัน ๆ อึงคะนึงด้วยความชอบอกชอบใจ

พอขับลำจบลงก็เป็นฝ่ายของหมอลำสาวคนสวยเสน่ห์แรงลำโต้บ้าง ลำกันไปลำกันมาอย่างสนุกสนานครึกครื้นก็ปรากฎว่า ท่านมั่นลำสู้ฝีปากคารมและแก้ปัญหาต่าง ๆ ของหญิงสาวไม่ได้อย่างเห็นได้ชัด

ยิ่งขับลำไปก็ยิ่งเป็นฝ่ายแพ้ ถูกหญิงสาวต้อนเอาแบบตีไม่เลี้ยง เล่นเอาท่านมั่นเหงื่อแตก เพราะหาญขับลำสู้กับมือชั้นครู เป็นเป็นหญิงสาวหน้าตาสวย ๆ เอวบางร่างน้อยนึกว่าคงจะไม่เท่าไหร่ แต่ที่ไหนได้หล่อนก็คือแม่เสือสาวดี ๆ นี่เอง

 

 
                                                             พระ� ิกษุมั่น
 
ต่อมา เมื่อท่านมั่นอายุได้ 22 ปี ท่านได้สละเพศฆารวาสเข้าอุปสมบทเป็นพระ� ิกษุ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436 ที่วัดสีทอง โดยมีพระอริยกรี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครู่ประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ให้ฉายาว่า "� ูริทัตโต"

เมื่ออุปสมบทแล้วท่านพระ� ิกษุมั่นได้ไปฝากตัวเรียนวิปัสนากรรมฐานที่สำนักวัดเลียบในเมืองอุบลราชธานี โดยมีท่านพระอาจารย์เสาร์กนฺตสีโลเป็นพระอาจารย์สอนวิปัสสนา


การเข้าฝึกวิปัสสนากรรมฐานนี้ ท่านพระ� ิกษุมั่นได้ยึดเอาคำ "พุทโธ" เป็นคำบริกรรม� าวนาสมถะกรรมฐาน เพราะท่านชอบคำ "พุทโธ" นี้อย่างกินใจลึกซื้งดื่มด่ำเป็นพิเศษมากกว่าบทธรรมอื่น ๆ

และในเวลาต่อมาจวบกระทั่งตลอดชีวิตของท่านก็ได้ยึดเอาคำ "พุทโธ" นี้ใช้บริกรรมประจำใจในอริยาบทต่าง ๆ ในการเจริญวิปัสสนาทุกครั้งไป เมื่อถือเพศสมณะอย่างเต็ม� าค� ูมิแล้วท่านก็ตัดขาดทางโลกอย่างสิ้นเชิงไม่แลเหลียว


ความคึกคะนองในสมัยเป็นหนุ่มไม่มีหลงเหลืออยู่เลย กลับกลายเป็นคนละคนทีเดียว ท่านเต็มไปด้วยจริยาอันสำรวมเคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างยิ่งยวด ไม่มีวอกแวกยึดถือธรรมธุดงควัตรอย่างเหนียวแน่นเอาเป็นเอาตาย ด้วยใจรักอันเด็ดเดี่ยวไม่ให้มีผิดพลาดได้แม้แต่นิดเดียว สืบมาตลอดชีวิตอันยาวนานของท่าน จนถึงวาระสุดท้ายเข้าสู่พระนิพพานอันเป็นแดนเกษม

ธรรมธุดงควัตรที่ท่านยึดถือเป็นข้อปฏิบัติมี 7 ข้อคือ

1.
ถือ ผ้าบังสุกุลเป็นเครื่องนุ่งห่ม เมื่อชำรุดเปื่อยขาดไปก็เย็บปะชุนด้วยมือตนเอง ย้อมเองเป็นสีแก่นขนุนหรือสีกรัก ซึ่งเป็นสีน้ำตาลเข้ม ไม่ยอมรับคหปติผ้าไตรจีวรสวย ๆ งาม ๆ ที่ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายถวายด้วยมืออย่างเด็ดขาด

2.
ออก บิณฑบาตรทุกวันเป็นประจำ แม้จะป่วยไข้ก็ต้องพยายามพยุงกายออกบิณฑบาตร ยกเว้นเฉพาะวันที่ไม่ขบฉันอาหารเพราะเร่งบำเพ็ญเพียร� าวนากรรมฐานด้วยความเพลิดเพลินอาจหาญร่าเริงในธรรม ซึ่งมีอยู่บ่อย ๆ ที่ท่านเดินจงกลมและนั่งสมาธิ � าวนาติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันโดยไม่ขบฉันอาหารเลย

3.
ไม่ยอมรับอาหาร ที่ญาติโยมพุทธบริษัทตามส่งทีหลัง รับเฉพาะที่ใส่บาตร

4.
ฉันมื้อเดียว คือฉันวันละหน ไม่ยอมฉันอาหารว่างใด ๆ ทั้งสิ้น ที่มีอามิสเข้าปะปน

5.
ฉันอาหารในบาตร คือมี� าชนะใบเดียว ไม่ยอมฉันในสำรับกับข้าวที่มีอาหารต่าง ๆ อาหารคาวหวานทั้งหลายคลุกเคล้าฉันรวมแต่ในบาตร ไม่ติดใจในรสชาตอาหาร ฉันเพียงเพื่อยังสังขารให้พออยู่ได้ เพื่อเพียงจะได้บำเพ็ญเพียร� าวนาสร้างบารมีธรรม

6.
อยู่ในป่าเป็นวัตร ปฏิบัติคือท่องเที่ยวเจริญสมณะธรรมกรรมฐานอยู่ตามร่มไม้บ้าง ใน� ูเขาบ้าง ในหุบเขาบ้าง ในถ้ำ ในเงื้อมผาอันเป็นที่สงัดวิเวกห่างไกลจากชมชน

7.
ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร คือมีผ้า 3 ผืน ได้แก่ สังฆาฏิ จีวร และสบง (เว้นผ้าอาบน้ำฝนซึ่งจำเป็นต้องมีเป็นธรรมดาในสมัยนี้)

สำหรับธุดงควัตรข้ออื่น ๆ นอกจากที่กล่าวนี้แล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นสมาทานและปฏิบัติเป็นบางสมัย แต่เฉพาะ 7 ข้อข้างต้นนี้ท่านปฏิบัติเป็นประจำจนกลายเป็นนิสัย ซึ่งจะหาผู้เสมอเหมือนได้ยากในปัจจุบัน
 <
85 โชว์ภาพถ่ายสีหลวงพ่อจิต วัดควนจง ขนาด 24 นิ้ว ตอกโค้ดใบบัวหน้าหลัง ปั๊มตราธรรมจักร แจกที่ระ 0 Visitor 129319
84 โชว์ภาพถ่ายหลวงพ่อจิต วัดควนจง ขนาด 2 นิ้ว ตอกโค้ดใบบัว ปั๊มตราธรรมจักร แจกที่ระลึกปี 2555 0 Visitor 129554