ปัจฉิมโอวาท
ของ พระสุทธิธรรมรังสีคัม� ีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ท่านพ่ออาพาธด้วยโรคหัวใจโต และได้รับการรักษาพยาบาลเป็นอย่างดีที่สุด จากนายแพทย์ใหญ่ๆ ที่ประจำโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เป็นเวลา ๕ เดือนเศษ เมื่อนายแพทย์ได้ตรวจร่างกายครั้งสุดท้ายปรากฏว่า อาการอาพาธของท่านดีขึ้นมากจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงอนุญาตให้ท่านกลับมาประจำอยู่วัดได้ วันเสาร์ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๐๔ ท่านมาลงทำอุโบสถสังฆกรรม และเมตตาให้บรรดาศิษย์ได้ถวายรดน้ำในวันสงกรานต์ ทุกๆ คนต่างปลื้มปีติปราโมทย์เป็นอย่างยิ่งที่ท่านได้กลับและมีอาการเป็นปกติดี ได้พูดจาปราศรัยและสนทนาธรรมะกับสานุศิษย์ด้วยความแจ่มใสร่าเริง เห็นกิริยาแช่มชื่นเช่นนั้นจึงพากันนอนใจว่า "ท่านพ่อคงจะอยู่บำเพ็ญคุณงามความดีให้แก่พระศาสนาต่อไปได้อีกยาวนาน” ท่านบอกว่า "กลับมาวัด ขอพักผ่อนสัก ๑๐ วัน แล้วท่านจะไปวิเวก” พระอาจารย์แดงมาลาท่านไปวัดป่าประชานิยม จังหวัดกาฬสินธุ์ ท่านตอบว่า "อือ ไปแล้วกลับมา” และกำชับอาจารย์แดงว่า "ให้มาก่อนวันที่ ๒๕ หลังวันที่ ๒๕ จะมีการประชุมใหญ่เกี่ยวกับทางคณะสงฆ์” พระอาจารย์แดงก็นั่งงง ท่านจะประชุมใหญ่เรื่องอะไรของคณะสงฆ์ ก็ในตอนนี้ก็ไม่เห็นมีเรื่องอะไร พระอาจารย์แดงบอกว่าจะกลับมาก่อน เพราะรับนิมนต์บวชนาคที่วัดอโศฯ วันที่ ๒๔ ท่านพ่อลีก็นิ่งไม่ว่าอะไร วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๐๔ "ก่อนที่ท่านจะไปวิเวกในอีก ๓ วันข้างหน้า (คือวันที่ ๒๕ เมษายน...เป็นคืนที่ท่านมรณ� าพ) ท่านเดินรอบวัดถามหาหลวงวุฒิอยู่ไหม ? ขุนทัดอยู่ไหม ? พระยาฤทธิ์อยู่ไหม ? เที่ยวถามหาลูกศิษย์ลูกหาไปโดยทั่ว แม้เขตแม่ชีท่านไม่เคยเดินไป ท่านก็เดินตรวจจนทั่ว ฉวีวรรณท่านผ่องใส มีน้ำมีนวล มิได้เหมือนคนป่วยไข้ ท่านเที่ยวพูดจาปราศรัยทักทายคนโน้นคนนี้ ดูนั้นดูนี้� ายในบริเวณวัด คนทั้งหลายเห็นเช่นนั้นก็ว่า "ท่านพ่อ...หายดีแล้ว ก็ไม่ห่วงแล้ว” ขณะที่ท่านเดินตรวจรอบวัดอยู่นั้นท่านสั่งให้ตามั่น (คนขับรถท่าน) เอากระเป๋ายามารูดซิปออก แล้วท่านก็ว่า "อืม...มั่น เอาไปใช้ซะ เราไม่ฉันแล้วยา” ในตอนค่ำของคืนวันที่ ๒๔ และ ๒๕ เมษายน ๒๕๐๔ ขณะที่พระอาจารย์บุญกู้ อนุวฑฺฒโน ได้ไปปฏิบัติรับใช้ท่านพ่อตามปกตินั้น ท่านได้สั่งให้นำ หนังสือ "สังฆกิจ และมูลกัมมัฏฐาน” ซึ่งองค์ท่านได้แต่งไว้ และพิมพ์ไปแล้วนั้นมาอ่านทานให้ฟัง พร้อมกันนั้นท่านพ่อได้บอกให้เขียนแก้ไข และเพิ่มเติมข้อความขึ้นอีกเป็นบางตอน เพื่อเป็นการปรับปรุงหนังสือสำหรับที่จะจัดพิมพ์ในครั้งต่อไป ข้อความที่ตัดออกและเพิ่มเติมนั้นมีอยู่หลายตอนด้วยกัน ข้าพเจ้าเห็นว่าถึงอย่างไรท่านผู้อ่านก็คงจะได้พบเห็นในหนังสือ "สังฆกิจ” ฉบับสมบูรณ์แล้ว ฉะนั้น จึงขออนุญาตคัดมาเฉพาะบางตอนที่เป็น "ปัจฉิมโอวาท” อันออกจากปากของท่านพ่อเป็นครั้งสุดท้ายของคืนที่ ๒๔ และ ๒๕ เมษายนนั้น มีใจความว่า "บุคคลใด หรือหมู่ใด ปรารถนาอยู่แต่ในประโยชน์ชาตินี้ คือ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ขอชี้แนวทางให้ซึ่งมีอยู่ ๔ อย่าง ๑. อุฏฐานสัมปทา เป็นผู้มีความเพียร หมั่นขยัน ทำกิจหน้าที่ของตน ตั้งอยู่ในอาชีพที่ถูกต้องในทางธรรม เช่น "สัมมากัมมันโต” การงานที่ชอบ ๒. อารักขสัมปทา ให้รู้จักรักษาทรัพย์ของตน ให้รู้จักรักษาตนของตน ที่ได้มาโดยชอบแล้วด้วยดี ไม่ให้ตกล่วงไปในทางที่ชั่ว ๓. กัลยาณมิตตตา คบเพื่อนที่ดีงาม ไม่คบคนชั่วที่จะทำตนให้เป็นคนตกต่ำ จะทำทรัพย์ของตนให้สาปสูญ ๔. สมชีวิตา จ่ายทรัพย์ที่ได้มาจากการงานนั้นๆ ด้วยดี เลี้ยงชีวิตของตนโดยทางที่ถูก ไม่จ่ายทรัพย์ไปในทางที่ผิด ไม่ทำชีวิตความเป็นอยู่ของตนให้หม่นหมอง ทั้ง ๔ อย่างนี้เป็นหนทางที่จะนำมาซึ่งความสุขของตนในโลกนี้ แต่อย่าใช้ความคิดอันสั้น อันปราศจากความจริง เพราะความจริงของมนุษย์ที่เกิดมา ต้องตายไปจากความสุขในโลกที่มีอยู่ทุกรูปทุกนาม ฉะนั้น จึงจำเป็นจะต้องหาทางที่ตนจะต้องได้รับในโลกหน้า ที่เรียกว่า "สัมปรายิกัตถะประโยชน์” อันจะพึงได้รับ คือความสุขในโลกหน้า พระองค์จึงได้ทรงชี้แนวทางไว้ดังนี้ คือ ๑. สัทธาสัมปทา ให้เป็นผู้มีความเชื่อโดยสมบูรณ์ คือ เชื่อบุญเชื่อกรรม ความดีและความชั่ว แล้วก็ควรเว้นกรรมชั่วเสีย สร้างแต่ความดี ๒. สีลสัมปทา ให้เป็นผู้มีศีลมีสัตย์ ปฏิบัติตนให้เป็นคนบริบูรณ์ ด้วยความประพฤติทางกาย วาจา จิต จะทำสิ่งใดให้ทำด้วยความสุจริตที่ถูกต้องในทางพระ ๓. จาคสัมปทา ให้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยการบริจาค, ฝากทรัพย์ของตนไว้ เช่น ให้ทานในฐานะที่ตนพอจะทำได้, แต่การสละนั้น ทางพระท่านแสดงไว้ว่าเป็น "อริยทรัพย์” ให้ผลในชาตินี้และชาติหน้า ถ้าเราไม่เสียสละเช่นนั้น ทรัพย์ในโลกนี้ทั้งหมดก็ให้ผลแค่ชีวิตหนึ่ง, ตายแล้วก็สาบสูญ ไม่สามารถจะนำไปใช้สอยในโลกหน้าได้ ตัวอย่างเช่น ธนบัตรของประเทศไทย หรือเงินตราอย่างอื่นก็ใช้ได้สำหรับในของประเทศนั้นๆ ถ้าต้องการไปเมืองนอกก็ไม่สามารถจะนำทรัพย์ในประเทศของตนไปใช้จ่าย นอกจากคนมีปัญญานำไปแลกเปลี่ยนเข้าบัญชีในธนาคารใดธนาคารหนึ่ง จึงจะเกิดประโยชน์แก่ผู้ออกต่างประเทศ ฉันใด, มีผู้ปัญญานำทรัพย์ไปฝากไว้ในธนาคารชนิดที่เรียกว่า "นาบุญ” เมื่อตนได้จาคะสละไปแล้ว นั่นแลเรียกว่า "อริยทรัพย์” จะได้เกิดผลข้างหน้าไม่ว่าแต่ทรัพย์เลย คนในประเทศหนึ่งจะข้ามแดนไปอีกประเทศหนึ่งเพียงเท่า� าษาที่พูดก็ใช้ไม่ได้ ฉะนั้น, พระองค์จึงทรงสอน� าษาต่างประเทศให้เราอีกชิ้นหนึ่ง ที่เรียกว่า "สวดมนต์ ไหว้พระ เจริญเมตตา� าวนา” จะได้� าษาไปใช้สอยในโลกหน้า ๔. ปัญญาสัมปทา ให้เป็นผู้รอบคอบ รอบรู้ในการกระทำทั้งหมด มิฉะนั้นก็จะทำไปด้วยโมหะ เช่น ‘ฉันทาคติ’ ทำไปโดยความรักอย่างเดียว ไม่คำนึงถึงเหตุผลว่าผิดหรือถูก ‘� ยาคติ’ ทำไปด้วยความกลัวอย่างเดียว ไม่คำนึงถึงเหตุผล ‘โทสาคติ’ ทำไปด้วยความโกรธ หรือโทสะ ไม่คำนึงถึงความผิดหรือถูก ‘โมหาคติ’ ทำไปด้วยความหลง สำคัญว่าผิดเป็นถูก สำคัญว่าถูกเป็นผิด เมื่อทำโดยอาการเช่นนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีปัญญา ฉะนั้น จึงให้ตรวจตราพิจารณาดูโดยชอบเสียก่อน ไม่ว่าจะทำสิ่งใดๆ ทั้งหมดที่เนื่องไปด้วยการบุญ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ปฏิปทาทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นหนทางเปิดช่องอันจะนำไปสู่สุคติโลกหน้า คือ "สวรรค์” แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่อีก ถ้าเป็นผู้มีศรัทธาแก่กล้า มีความสามารถจะบำเพ็ญตนให้สูงยิ่งขึ้นไปกว่านี้ ที่ท่านเรียกว่า "ปรมัตถประโยชน์” ผลอันพึงจะได้รับก็ได้แก่ "โลกุตตรกุศล” กุศลข้อนี้เป็นสิ่งที่ควรทำแก่พุทธบริษัททั้งหลาย สิ่งที่จำเป็นก็มีอยู่ ๒ อย่าง คือ (๑) เป็นผู้มีศรัทธา (๒) เป็นผู้มีความเพียร เมื่อมีสมบัติในตนได้อย่างนี้ ก็เป็นเครื่องมือสำหรับตนทุกคน ไม่เลือกหน้าว่าคนโง่ คนฉลาด คนหนา คนบาง หญิงชายทั้งปวงในโลกเมื่อมีความประสงค์ อย่างนี้แล้วก็ให้ตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ อันเป็นแนวทางของพระนิพพาน คือ (๑) สมถ� าวนา ทำจิตใจให้สงบ (๒) วิปัสสนา� าวนา ทำจิตใจให้มีปัญญา เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในตนของตน เล็งเห็นส� าพแห่งธรรมซึ่งมีอยู่ในตัว ส� าพแห่งธรรมนั้น คือ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะก็ดับไป เหมือนลูกคลื่นในทะเล เมื่อลมพัดแล้วก็เกิดคลื่นน้อยคลื่นใหญ่ในมหาสมุทร ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ส� าพของขันธ์ที่มีอยู่ในตัวก็มีอาการเป็นไปเหมือนลูกคลื่น ฉะนั้นนี่ก็เรียกว่า ‘ส� าพธรรม’ ส� าพอีกอันหนึ่ง จะมีคลื่นหรือไม่มีคลื่นก็ทรงอยู่โดยธรรมชาติ เหมือนน้ำทะเลในคราวที่ไม่มีลมก็ราบรื่นใสดี ส� าพธรรมที่มีอยู่ในใจของคนทุกคน ซึ่งเป็นส� าพที่ไม่เกิดและไม่แปรผัน ไม่ดับ ไม่สูญ ทรงอยู่ในอาการเช่นนั้นก็มีอยู่ทุกรูปทุกนาม ทั้งสองแนวทางนี้เป็นเหตุให้สำเร็จประโยชน์อย่างยิ่ง คือ ‘พระนิพพาน’ ธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ ใครต้องการก็มีอยู่ในตนทุกคน ถ้าคนใดรู้จักวิธีการเผยแผ่ แนะนำ และตักเตือนตนเอง ก็จะเกิดประโยชน์โดยไม่ต้องสงสัย ฉะนั้น วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จะถือกันแต่ขึ้นธรรมมาสน์แสดงธรรมเพียงเท่านั้น ย่อมไม่พอในวิธีการเผยแพร่ ผู้มีปัญญาย่อมทำให้พุทธบริษัทเกิดศรัทธาด้วย โดยวิธีการต่างๆ เช่น มรรยาทดังกล่าวมา หรือโดยเทศนาปาฏิหาริยะ, อนุสาสนียปาฏิหาริยะ แต่ละอย่างนี้เป็นวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ต่อจากนั้นองค์ท่านได้เปิดโอกาสให้พระ ๔ รูป คือ พระอาจารย์อ่อน วัดธาตุทอง, พระอาจารย์บุญมี ปญฺญาทีโป, พระใบฎีกาตุ๋ย สุชาโต และพระบุญกู้ อนุวฑฺฒโน ได้สนทนาความเรื่อง ‘อริยสัจจ์’ และซักถามข้อสงสัยต่างๆ จนถึงเวลา ๒๓.๐๐ น. ไฟฟ้าดับ พระ ๔ รูป จึงได้นมัสการอำลากลับ เพราะเกรงจะเป็นการรบกวนเวลาพักผ่อนของท่าน ข้อความที่ท่านพ่อได้สั่งให้บันทึก แก้ไข และเพิ่มเติม ในหนังสือ "สังฆกิจ และ มูลกัมมัฏฐาน” นี้ จึงถือได้ว่าเป็น "บันทึกธรรมครั้งสุดท้ายของท่านพ่อ” ซึ่งเราทั้งหลายจักต้องจดจำประทับไว้ใจดวงจิต และจงพากันพยายามประพฤติปฏิบัติตาม "ปัจฉิมโอวาท” นี้ ประดุจการรักษาทรัพย์สมบัติชิ้นสุดท้ายที่พ่อได้ทิ้งไว้ให้แก่ลูกหลานทั้งปวงฉะนั้น |
||||||||||||||