กำเนิด แห่งชุมชนเกาะยอ ตามหลักฐานที่เล่าสืบทอดต่อกันมา เกาะยอในยุคแรกเริ่มประวัติศาสตร์มีส� าพเป็นป่าเขายังไม่มีผู้คนอพยพเข้าไป ตั้งถิ่นฐาน ต่อมาในสมัยตอนปลาย สุโขทัย และอยุธยา  ระหว่าง พ.ศ.2148-2163 สมเด็จ พระราชมุนี (สมเด็จเจ้าเกาะยอ) ได้เดินทางมาจากกรุงศรีอยุธยาราชธานี มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เกาะยอ-สงขลา ในสมัยนั้นที่เกาะยอมีผู้คนอยู่แล้วประมาณ 500 คน ซึ่งขณะนั้นเมืองสงขลายังตั้งอยู่ฝั่งเขาแดงอำเ� อสิงหานคร  

ตำบล เกาะยอมีส� าพพื้นที่เป็นเกาะที่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบสงขลาในเขตอำเ� อเมือง สงขลา จังหวัดสงขลา แต่เดิมไม่มีคนอาศัยอยู่ จนกระทั่งประมาณสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงคือตำบลน้ำน้อย เห็นความอุดมสมบูรณ์ของเกาะจึงได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนเกาะบริเวณหมู่ 5 และหมู่ 6 ใน ปัจจุบัน ซึ่งมีส� าพ� ูมิประเทศเหมาะแก่การเลี้ยงวัว ควาย และได้ขยายพื้นที่ออกไปยังชายฝั่งทางด้านใต้และด้านตะวันตกเฉียงใต้ของตัว เกาะ เพราะพบว่าในบริเวณทะเลสาบดังกล่าวเป็นแหล่งชุกชุมของกุ้ง ปู ปลาเหมาะแก่การทำอาชีพประมง ชาวบ้านจึงทำอาชีพประมงควบคู่ไปกับการเลี้ยววัว ควาย ต่อมาชุมชนค่อยๆ ขยายตัวมาทางตะวันออก ชาวบ้านมีการเปลี่ยนอาชีพไปตามส� าพ� ูมิประเทศ มีการทำนาและสวนผลไม้ และมีการขยายตัวของชุมชนไปรอบ ๆ เกาะ นอกจากชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงเข้ามาอาศัยอยู่บนเกาะแล้ว ในอดีตเกาะยอยังเป็นที่หลบมรสุมในช่วงมรสุมของพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางมาค้า ขาย และเห็นความอุดมสมบูรณ์ของเกาะจึงได้อพยพมาตั้งหลักแหล่ง ตำบลเกาะยอจึงมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งผู้คนเหล่านี้ได้สร้างสังคมและวัฒนธรรมซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชน และสาเหตุที่เรียกชื่อเกาะนี้ว่าเกาะยอเนื่อง จากบริเวณเกาะนี้มีก้อนหินซึ่งมีลักษณะคล้ายลูกยอเป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อเกาะยออีกเหตุหนึ่งที่เรียกว่าเกาะยอ เพราะบริเวณเกาะแต่เดิมมีต้นยอมาก ต่อมาจึงถูกเรียกชื่อเกาะนี้ว่า

เกาะยอมาจนในปัจจุบัน โดยในปัจจุบันตำบลเกาะยอมีจำนวน 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ที่มาเนื่องจากในอดีตมีพื้นที่เป็นอ่าวทราย มีหาดทรายขาวจึงเรียกกันว่า บ้านอ่าวทราย หมู่ที่ 2 บ้านตีน เนื่องจากหมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะ ซึ่ง� าษาถิ่นใต้เรียกว่า ทิศตีนชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากว่าบ้านตีนหมูที่ 3 บ้านนอก ในอดีตมีชาวบ้านอาศัยอยู่น้อยซึ่งอยู่นอกชุมชนออกไป จึงเรียกกันว่าบ้านนอกหมู่ที่ 4 บ้านสวนเรียน เป็นหมู่บ้านที่มีการปลูกทุเรียนเป็นจำนวนมาก ซึ่ง� าษาถิ่นใต้เรียกทุเรียนว่าเรียนจึงเป็นที่มาว่าบ้านสวนเรียนหมู่ที่ 5 บ้านท่าไทร ในอดีตหมู่บ้านนี้มีต้นไทรอยู่ริมท่าน้ำ จึงเรียกกันว่า บ้านท่าไทร หมู่ที่ 6 บ้านในบ้าน เป็นชุมชนใหญ่มีผู้คนอาศัยมากกว่าหมู่บ้านอื่น จึงเป็นศูนย์กลาง

ของชุมชน เรียกว่าในบ้านหมู่ที่ 7 บ้านป่าโหนด ในอดีตบริเวณหมู่บ้านมีต้นตาลโตนดจำนวนมาก ซึ่งใน� าษาถิ่นใต้เรียกว่าต้นโหนดหมู่ที่ 8 บ้านท้ายเสาะ หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บริเวณท้ายเกาะ ชาวบ้านเรียกกันเรื่อยมาและเพี้ยนเป็นบ้านท้ายเสาะหมู่ที่ 9 บ้านสวนใหม่ เป็นหมู่บ้านที่ชาวบ้านไปปรับปรุงที่ดินทำสวนขึ้นมาใหม่ จึง เรียกกันว่าบ้านสวนใหม่
 

การคมนาคม

ในอดีตการเดินทางไปเกาะยอต้องใช้การสัญจรทางน้ำเท่านั้น แต่ต่อมาในปี พ..2529

มีการเปิดใช้สะพานติณสูลานนท์ หรือชาวบ้านเรียกว่าสะพานป๋าซึ่งเชื่อมทะเลสาบสงขลาฝั่งบ้าน

น้ำกระจาย ผ่านเกาะยอไปยังฝั่งเขาเขียว แต่เดิมมีสะพานเพียงแค่เส้นเดียว และในปัจจุบันได้มีการ

สร้างเพิ่มเติมเป็นสะพานคู่ขนาน การเดินทางมาเกาะยอสามารถเดินทางได้โดย

รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง ระยะทาง

590 กิโลเมตร เข้าทางหลวงหมายเลข 407 และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4083 ข้ามสะพาน

ติณสูลานนท์เข้าสู่ตำบลเกาะยอทางด้านซ้ายมือ

รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการเดินรถระหว่างกรุงเทพฯหาดใหญ่

 

 

ศาสนา

ประชากรทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ
เกาะ ยอ เป็นเกาะที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลสาบ การเข้าไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากินของผู้คนเมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดชุมชนที่ขยายตัวไปรอบๆ เกาะ และได้สร้างสังคม วัฒนธรรม บนพื้นฐานความเชื่อดั้งเดิมและความเชื่อทางพระพุทธศาสนา จนพัฒนาเป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมเฉพาะ ของชาวเกาะยอได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของบ้านเรือนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ วัด เครื่องใช้การทอผ้า การทำเครื่องปั้นดินเผา การเกษตรและอาหารการกินที่ขี้นชื่อมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้เป็นความ� าค� ูมิใจที่ชาวเกาะยอที่อยากให้ผู้คนในสังคมได้มารับ รู้ถึงคุณค่าแห่งวิถีชีวิตที่อันสงบสุข และวัฒนธรรมที่พวกเขาได้สืบสานมา
 
ของดีเกาะยอ เกาะยอมีของดีหลากหลายดังคำขวัญประจำเกาะว่า สมเด็จเจ้าเป็นศรี ผ้าท้อดีล้ำค่า นานาผลไม้หวาน ถิ่นอาหารทะเล เสน่ห์สะพานติณฯ สถาบันทักษิณลือนาม งดงามเรือนทรงไทย
 

สำนักสงฆ์เขากุฏิ

สำนักสงฆ์เขากุฏิ ตั้งอยู่บนยอดเขากุฏิในบริเวณหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2

เป็นโบราณสถานซึ่งมีการก่อสร้างมานับร้อยปี เป็นที่ประดิษฐานสมเด็จเจ้าเกาะยอ ซึ่งตาม

ตำนานเล่าว่าสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระผู้ใหญ่ 4 รูปได้เดินทางลงมาทางใต้เพื่อมาเผยแผ่พุทธ

ศาสนาได้แก่ สมเด็จเจ้าเกาะยอ จำวัดอยู่ที่เขาเพหาร ตำบลเกาะยอ อำเ� อเมืองสงขลา จังหวัด

สงขลา สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ จำวัดอยู่ที่ ตำบลเกาะใหญ่ อำเ� อกระแสสินธ์ จังหวัดสงขลา

สมเด็จเจ้าพะโค๊ะ จำวัดอยู่ที่อำเ� อสทิงพระ จังหวัดสงขลา และสมเด็จเจ้าเพ็ญศรี จำวัดอยู่ที่

จังหวัดพัทลุง ท่านได้ตกลงกันว่าในตอนเย็น ๆ จะก่อไฟส่งสัญญาณกัน ถ้าเห็นแสงไฟแสดงว่า

แต่ละฝ่ายยังคงเป็นปกติอยู่ ต่อมาไฟของสมเด็จเจ้าเกาะยอหายไป ชาวบ้านตำบลเกาะยอจึงขึ้น

ไปดูปรากฎว่าไม่พบอะไรเลย จึงว่าสมเด็จเกาะยอมรณ� าพไปแล้ว จากนั้นผู้มีจิตศรัทธาได้

สร้างเจดีย์ และรูปปั้นของสมเด็จเจ้าเกาะยอไว้บนยอดเขากุฏิเพื่อแสดงความเคารพต่อสมเด็จ

เจ้าเกาะยอ โดยมีรูปปั้นอยู่ 4 ด้าน รูปที่ถือว่าเป็นตัวแทนของสมเด็จเจ้าเกาะยอคือ รูปที่หันหน้า

ไปทางทิศตะวันออก ต่อมามีการสร้างเจดีย์ครอบเจดีย์เดิม นอกจากนี้บริเวณเขากุฏิยังมีบ่อน้ำ

เรียกว่าบ่องอชาวบ้านเชื่อว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ หากคนป่วยได้กินน้ำจากบ่องอแล้วอาการ

ป่วยจะหายเร็ว ซึ่งจากตำนานเล่าว่าเมื่อสมเด็จเจ้าเกาะยอได้ขึ้นไปจำวัดบนยอดเขา เนื่องจาก

บนเขาไม่มีน้ำจึงให้ตาสีหึงซึ่งเป็นลูกศิษย์ขุดบ่อน้ำไว้บริเวณเชิงเขา
 

วันขึ้นเข้ากุฎิ

จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 เป็นประเพณีที่ชาวบ้าน

ตำบลเกาะยอนำผ้าทอเกาะยอสีเหลืองที่ร่วมกันทอขึ้นมาแห่ไปรอบ ๆ เกาะยอแล้วนำไปห่ม

เจดีย์สมเด็จเจ้าเกาะยอ เพื่อเป็นการบูชาเคารพสักการะองค์สมเด็จเจ้าเกาะยอ โดยมีการนำ

ดอกไม้ ธูป เทียน พร้อมด้วยน้ำ 1 ขวด เพื่อใช้สำหรับทำน้ำมนต์
 
สมเด็จเจ้าเป็นศรีเจดีย์สมเด็จเจ้าเกาะยอ คือ ศูนย์รวมจิตใจ และความศรัทธาของชาวเกาะยอ     ทุกๆ ปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จะมีงานห่มผ้าเจดีย์เพื่อนมัสการสมเด็จเจ้าเกาะยอ  ซึ่ง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่นด้านประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีอยู่เต็ม เปี่ยมไม่แพ้ท้องถิ่นแห่งใดๆ สำหรับคนที่เป็นลูกหลานเกาะยอคงรู้จักประเพณีสำคัญบนเกาะที่ลูกหลานเกาะยอ ไม่ว่าจะอยู่ใกล้ไกลต้องไม่พลาดที่จะมาร่วมงาน นั่นคือ งานขึ้นเขากุฎิ ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  หรือ วันวิสาขบูชาของทุกปี โดยประเพณีนี้จะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6  โดยชาวบ้านจะร่วมกันแห่ผ้าขึ้นไปห่มเจดีย์ และองค์ สมเด็จเจ้าเกาะยอ กระทั้งรุ่งเช้าของวันขึ้น 15 ค่ำ คนบนเกาะยอจะเดินทางขึ้นไปร่วมพิธีทำบุญตักบาตรบนยอดเขากุฏิอย่างพร้อมเพรียง  ตำนาน ปรัมปราเล่าว่า สมเด็จเจ้าเกาะยอท่านเป็นชาวกรุงในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นสหายธรรมของหลวงปู่ทวด โดยสันนิษฐานเทียบเคียงจากการที่ท่านมีชีวิตร่วมสมัยหลวงปู่ทวด สมเด็จเจ้าเกาะยอเกิดในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ( พ.ศ. 2113-2163) หรือประมาณ 400 ปีล่วงมาแล้ว นอกจากนี้ยอดสูงสุดของเกาะยอมีเจดีย์โบราณประดิษฐานอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกขานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันว่า เขากุฏิ และเกิดประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา  สำหรับเจดีย์บนเขากุฏิ เป็นเจดีย์ทรงกลม หรือทรงระฆังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เมตร มีทางขึ้นสู่ลานประทักษิณ 3 ด้าน ยกเว้นทางทิศตะวันออกของเจดีย์  องค์ เจดีย์ประกอบด้วยส่วนฐานรองรับองค์ระฆัง 2 ชั้น ส่วนฐาน และชั้นมีซุ้มจรนำทั้ง 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ด้าน มีมุมฐานบัว ชั้นแรก มีรูปปั้นยักษ์ ส่วนมุมฐานชั้นที่สอง มีรูปปั้นเทวดาประจำทิศทั้งสี่ เหนือฐานบัวขึ้นไปจึงเป็นองค์ระฆังคว่ำ ไม่มีบัลลังก์ แต่มีเสาหานเพื่อรองรับน้ำหนักปล้องไฉน มีปัทมาบาทคั่นระหว่างปล้องไฉนกับปลียอด แล้วจึงเป็นลูกแก้วหรือเม็ดน้ำค้างอยู่ยอดสูงสุดของเจดีย์ ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัทมบาทที่ปรากฏบนเจดีย์เขากุฏินั้น เป็นรูปแบบที่ปรากฏใน เจดีย์แบบมอญพม่าซึ่งเป็นรูปแบบทางศิลปะที่มีการนำมาผสมผสานเข้ากับรูปแบบศิลปะที่ปรากฏในท้องถิ่นได้อย่างลงตัว และสวยงามเป็นอย่างยิ่ง 
 
สำหรับผู้ที่มาเยือนเขากุฏินอกจากจะได้ร่วมประเพณีโบราณ และนมัสการสมเด็จเจ้าเกาะยอเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองแล้ว ยังจะ

ได้ชมทิวทัศน์อันสวยงามของเมืองสงขลาดังคำขวัญ  เมืองใหญ่  2 ทะเล ซึ่งหมายถึงทะเลอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลาอันสวยงาม

   วัตถุมงคลต่างของอาจารย์ คลังแสง  ปัญญาพโล� ิกขุ
 
 
 
96 สิวลี รุ่นแรก หน้าฝังตะกรุด เนื้อว่าน อ.คลังแสง เกาะยอ สงขลา 12000 Visitor 130663
95 ยอดขุนพล อ.คลังแสง เขากุฎิ พ.ศ. 2551 เกาะยอ สงขลา 15000 Visitor 130143
94 สิวลี รุ่นแรก หลังฝังเหรียญ เนื้อว่าน เขากุฎิ เกาะยอ สงขลา 10000 Visitor 129895
93 เหรียญทวดกันภัย เนื้อเงิน กรรมการใหญ่ อ.คลังแสง วัดเขากุฎิ 9500 Visitor 129629
91 ล็อกเก็ตสมเด็จเจ้าเกาะยอ รุ่นแรก ฝังตกรุด อ.คลังแสง เกาะยอ สงขลา 2800 Visitor 130864
89 ฤาษี เนื้อว่าน อ.คลังแสง เกาะยอ สงขลา 250 Visitor 129905