กำเนิด แห่งชุมชนเกาะยอ ตามหลักฐานที่เล่าสืบทอดต่อกันมา เกาะยอในยุคแรกเริ่มประวัติศาสตร์มีส� าพเป็นป่าเขายังไม่มีผู้คนอพยพเข้าไป ตั้งถิ่นฐาน ต่อมาในสมัยตอนปลาย สุโขทัย และอยุธยา � ระหว่าง พ.ศ.2148-2163 สมเด็จ พระราชมุนี (สมเด็จเจ้าเกาะยอ) ได้เดินทางมาจากกรุงศรีอยุธยาราชธานี มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เกาะยอ-สงขลา ในสมัยนั้นที่เกาะยอมีผู้คนอยู่แล้วประมาณ 500 คน ซึ่งขณะนั้นเมืองสงขลายังตั้งอยู่ฝั่งเขาแดงอำเ� อสิงหานคร

ตำบล เกาะยอมีส� าพพื้นที่เป็นเกาะที่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบสงขลาในเขตอำเ� อเมือง สงขลา จังหวัดสงขลา แต่เดิมไม่มีคนอาศัยอยู่ จนกระทั่งประมาณสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงคือตำบลน้ำน้อย เห็นความอุดมสมบูรณ์ของเกาะจึงได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนเกาะบริเวณหมู่5 และหมู่ 6 ใน ปัจจุบัน ซึ่งมีส� าพ� ูมิประเทศเหมาะแก่การเลี้ยงวัว ควาย และได้ขยายพื้นที่ออกไปยังชายฝั่งทางด้านใต้และด้านตะวันตกเฉียงใต้ของตัว เกาะ เพราะพบว่าในบริเวณทะเลสาบดังกล่าวเป็นแหล่งชุกชุมของกุ้ง ปู ปลาเหมาะแก่การทำอาชีพประมง ชาวบ้านจึงทำอาชีพประมงควบคู่ไปกับการเลี้ยววัว ควาย ต่อมาชุมชนค่อยๆ ขยายตัวมาทางตะวันออก ชาวบ้านมีการเปลี่ยนอาชีพไปตามส� าพ� ูมิประเทศ มีการทำนาและสวนผลไม้ และมีการขยายตัวของชุมชนไปรอบ ๆ เกาะ นอกจากชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงเข้ามาอาศัยอยู่บนเกาะแล้ว ในอดีตเกาะยอยังเป็นที่หลบมรสุมในช่วงมรสุมของพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางมาค้า ขาย และเห็นความอุดมสมบูรณ์ของเกาะจึงได้อพยพมาตั้งหลักแหล่ง ตำบลเกาะยอจึงมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งผู้คนเหล่านี้ได้สร้างสังคมและวัฒนธรรมซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชน และสาเหตุที่เรียกชื่อเกาะนี้ว่าเกาะยอเนื่อง จากบริเวณเกาะนี้มีก้อนหินซึ่งมีลักษณะคล้ายลูกยอเป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อเกาะยออีกเหตุหนึ่งที่เรียกว่าเกาะยอ เพราะบริเวณเกาะแต่เดิมมีต้นยอมาก ต่อมาจึงถูกเรียกชื่อเกาะนี้ว่า

เกาะยอมาจนในปัจจุบัน โดยในปัจจุบันตำบลเกาะยอมีจำนวน 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย ที่มาเนื่องจากในอดีตมีพื้นที่เป็นอ่าวทราย มีหาดทรายขาวจึงเรียกกันว่า บ้านอ่าวทราย หมู่ที่ 2 บ้านตีน เนื่องจากหมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะ ซึ่ง� าษาถิ่นใต้เรียกว่า ทิศตีนชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากว่าบ้านตีนหมูที่ 3 บ้านนอก ในอดีตมีชาวบ้านอาศัยอยู่น้อยซึ่งอยู่นอกชุมชนออกไป จึงเรียกกันว่าบ้านนอกหมู่ที่ 4 บ้านสวนเรียน เป็นหมู่บ้านที่มีการปลูกทุเรียนเป็นจำนวนมาก ซึ่ง� าษาถิ่นใต้เรียกทุเรียนว่าเรียนจึงเป็นที่มาว่าบ้านสวนเรียนหมู่ที่ 5 บ้านท่าไทร ในอดีตหมู่บ้านนี้มีต้นไทรอยู่ริมท่าน้ำ จึงเรียกกันว่า บ้านท่าไทร หมู่ที่ 6 บ้านในบ้าน เป็นชุมชนใหญ่มีผู้คนอาศัยมากกว่าหมู่บ้านอื่น จึงเป็นศูนย์กลาง

ของชุมชน เรียกว่าในบ้านหมู่ที่ 7 บ้านป่าโหนด ในอดีตบริเวณหมู่บ้านมีต้นตาลโตนดจำนวนมาก ซึ่งใน� าษาถิ่นใต้เรียกว่าต้นโหนดหมู่ที่ 8 บ้านท้ายเสาะ หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บริเวณท้ายเกาะ ชาวบ้านเรียกกันเรื่อยมาและเพี้ยนเป็นบ้านท้ายเสาะหมู่ที่ 9 บ้านสวนใหม่ เป็นหมู่บ้านที่ชาวบ้านไปปรับปรุงที่ดินทำสวนขึ้นมาใหม่ จึง เรียกกันว่าบ้านสวนใหม่
 

การประกอบอาชีพ 

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพโดยทั่วไปเป็นแบบผสมผสานระหว่างการเกษตรและ 

ประกอบอาชีพประมง ได้แก่ การทำสวนผลไม้ และการจับสัตว์ทะเล กุ้ง ปลาตามธรรมชาติใน 

ทะเลสาบสงขลา และการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง โดยมีอาชีพรอง ได้แก่ การค้าขาย และการ 

ทอผ้าเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน
 

ศาสนา 

ประชากรทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ 

เกาะ ยอ เป็นเกาะที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลสาบ การเข้าไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากินของผู้คนเมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดชุมชนที่ขยายตัวไปรอบๆ เกาะ และได้สร้างสังคม วัฒนธรรม บนพื้นฐานความเชื่อดั้งเดิมและความเชื่อทางพระพุทธศาสนา จนพัฒนาเป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมเฉพาะ ของชาวเกาะยอได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของบ้านเรือนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ วัด เครื่องใช้การทอผ้า การทำเครื่องปั้นดินเผา การเกษตรและอาหารการกินที่ขี้นชื่อมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้เป็นความ� าค� ูมิใจที่ชาวเกาะยอที่อยากให้ผู้คนในสังคมได้มารับ รู้ถึงคุณค่าแห่งวิถีชีวิตที่อันสงบสุข และวัฒนธรรมที่พวกเขาได้สืบสานมา 

ของดีเกาะยอเกาะยอมีของดีหลากหลายดังคำขวัญประจำเกาะว่า สมเด็จเจ้าเป็นศรี ผ้าท้อดีล้ำค่า นานาผลไม้หวาน ถิ่นอาหารทะเล เสน่ห์สะพานติณฯ สถาบันทักษิณลือนาม งดงามเรือนทรงไทย 

 สำนักสงฆ์เขากุฏิ 

สำนักสงฆ์เขากุฏิ ตั้งอยู่บนยอดเขากุฏิในบริเวณหมู่ที่1 และหมู่ที่ 2

เป็นโบราณสถานซึ่งมีการก่อสร้างมานับร้อยปี เป็นที่ประดิษฐานสมเด็จเจ้าเกาะยอ ซึ่งตาม 

ตำนานเล่าว่าสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระผู้ใหญ่4 รูปได้เดินทางลงมาทางใต้เพื่อมาเผยแผ่พุทธ

ศาสนาได้แก่ สมเด็จเจ้าเกาะยอ จำวัดอยู่ที่เขาเพหาร ตำบลเกาะยอ อำเ� อเมืองสงขลา จังหวัด 

สงขลา สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ จำวัดอยู่ที่ ตำบลเกาะใหญ่ อำเ� อกระแสสินธ์ จังหวัดสงขลา 

67

สมเด็จเจ้าพะโค๊ะ จำวัดอยู่ที่อำเ� อสทิงพระ จังหวัดสงขลา และสมเด็จเจ้าเพ็ญศรี จำวัดอยู่ที่ 

จังหวัดพัทลุง ท่านได้ตกลงกันว่าในตอนเย็น ๆ จะก่อไฟส่งสัญญาณกัน ถ้าเห็นแสงไฟแสดงว่า 

แต่ละฝ่ายยังคงเป็นปกติอยู่ ต่อมาไฟของสมเด็จเจ้าเกาะยอหายไป ชาวบ้านตำบลเกาะยอจึงขึ้น 

ไปดูปรากฎว่าไม่พบอะไรเลย จึงว่าสมเด็จเกาะยอมรณ� าพไปแล้ว จากนั้นผู้มีจิตศรัทธาได้ 

สร้างเจดีย์ และรูปปั้นของสมเด็จเจ้าเกาะยอไว้บนยอดเขากุฏิเพื่อแสดงความเคารพต่อสมเด็จ 

เจ้าเกาะยอ โดยมีรูปปั้นอยู่4 ด้าน รูปที่ถือว่าเป็นตัวแทนของสมเด็จเจ้าเกาะยอคือ รูปที่หันหน้า

ไปทางทิศตะวันออก ต่อมามีการสร้างเจดีย์ครอบเจดีย์เดิม นอกจากนี้บริเวณเขากุฏิยังมีบ่อน้ำ 

เรียกว่าบ่องอชาวบ้านเชื่อว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ หากคนป่วยได้กินน้ำจากบ่องอแล้วอาการ

ป่วยจะหายเร็ว ซึ่งจากตำนานเล่าว่าเมื่อสมเด็จเจ้าเกาะยอได้ขึ้นไปจำวัดบนยอดเขา เนื่องจาก 

บนเขาไม่มีน้ำจึงให้ตาสีหึงซึ่งเป็นลูกศิษย์ขุดบ่อน้ำไว้บริเวณเชิงเขา 

 

วันขึ้นเข้ากุฎิ 

จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น15 ค่ำเดือน 6 เป็นประเพณีที่ชาวบ้าน

ตำบลเกาะยอนำผ้าทอเกาะยอสีเหลืองที่ร่วมกันทอขึ้นมาแห่ไปรอบ ๆ เกาะยอแล้วนำไปห่ม 

เจดีย์สมเด็จเจ้าเกาะยอ เพื่อเป็นการบูชาเคารพสักการะองค์สมเด็จเจ้าเกาะยอ โดยมีการนำ 

ดอกไม้ ธูป เทียน พร้อมด้วยน้ำ1 ขวด เพื่อใช้สำหรับทำน้ำมนต์ 

 

สมเด็จเจ้าเป็นศรีเจดีย์สมเด็จเจ้าเกาะยอ คือ ศูนย์รวมจิตใจ และความศรัทธาของชาวเกาะยอ� � � � ทุกๆ ปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จะมีงานห่มผ้าเจดีย์เพื่อนมัสการสมเด็จเจ้าเกาะยอ� ซึ่ง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่นด้านประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีอยู่เต็ม เปี่ยมไม่แพ้ท้องถิ่นแห่งใดๆ สำหรับคนที่เป็นลูกหลานเกาะยอคงรู้จักประเพณีสำคัญบนเกาะที่ลูกหลานเกาะยอ ไม่ว่าจะอยู่ใกล้ไกลต้องไม่พลาดที่จะมาร่วมงาน นั่นคือ งานขึ้นเขากุฎิ ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6� หรือ วันวิสาขบูชาของทุกปี โดยประเพณีนี้จะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6� โดยชาวบ้านจะร่วมกันแห่ผ้าขึ้นไปห่มเจดีย์ และองค์ สมเด็จเจ้าเกาะยอ กระทั้งรุ่งเช้าของวันขึ้น 15 ค่ำ คนบนเกาะยอจะเดินทางขึ้นไปร่วมพิธีทำบุญตักบาตรบนยอดเขากุฏิอย่างพร้อมเพรียง� ตำนาน ปรัมปราเล่าว่า สมเด็จเจ้าเกาะยอท่านเป็นชาวกรุงในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นสหายธรรมของหลวงปู่ทวด โดยสันนิษฐานเทียบเคียงจากการที่ท่านมีชีวิตร่วมสมัยหลวงปู่ทวด สมเด็จเจ้าเกาะยอเกิดในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ( พ.ศ. 2113-2163) หรือประมาณ 400 ปีล่วงมาแล้ว นอกจากนี้ยอดสูงสุดของเกาะยอมีเจดีย์โบราณประดิษฐานอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกขานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันว่า เขากุฏิ และเกิดประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา� สำหรับเจดีย์บนเขากุฏิ เป็นเจดีย์ทรงกลม หรือทรงระฆังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เมตร มีทางขึ้นสู่ลานประทักษิณ 3 ด้าน ยกเว้นทางทิศตะวันออกของเจดีย์� องค์ เจดีย์ประกอบด้วยส่วนฐานรองรับองค์ระฆัง 2 ชั้น ส่วนฐาน และชั้นมีซุ้มจรนำทั้ง 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ด้าน มีมุมฐานบัว ชั้นแรก มีรูปปั้นยักษ์ ส่วนมุมฐานชั้นที่สอง มีรูปปั้นเทวดาประจำทิศทั้งสี่ เหนือฐานบัวขึ้นไปจึงเป็นองค์ระฆังคว่ำ ไม่มีบัลลังก์ แต่มีเสาหานเพื่อรองรับน้ำหนักปล้องไฉน มีปัทมาบาทคั่นระหว่างปล้องไฉนกับปลียอด แล้วจึงเป็นลูกแก้วหรือเม็ดน้ำค้างอยู่ยอดสูงสุดของเจดีย์ ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัทมบาทที่ปรากฏบนเจดีย์เขากุฏินั้น เป็นรูปแบบที่ปรากฏใน เจดีย์แบบมอญพม่าซึ่งเป็นรูปแบบทางศิลปะที่มีการนำมาผสมผสานเข้ากับรูปแบบศิลปะที่ปรากฏในท้องถิ่นได้อย่างลงตัว และสวยงามเป็นอย่างยิ่ง�

 � � � � � � � สำหรับ ผู้ที่มาเยือนเขากุฏินอกจากจะได้ร่วมประเพณีโบราณ และนมัสการสมเด็จเจ้าเกาะยอเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองแล้ว ยังจะได้ชมทิวทัศน์อันสวยงามของเมืองสงขลาดังคำขวัญ� เมืองใหญ่� 2 ทะเล ซึ่งหมายถึงทะเลอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลาอันสวยงาม 
137 พระร่วงกาบหมาก กรุสุโขทัย 0 Visitor 128765
136 พระร่วงรางปืน กรุสุโขทัย 0 Visitor 129881
135 รูปหล่อหลวงพ่อลออ วัดหนองหลวง เสาร์ห้า พิมพ์ก้นเจดี พ.ศ.2553 1600 Visitor 129217