พระผงปิดตารุ่นไตรมาสรวยทันใจ มีพิมพ์เดียว (ขนาดกว้าง ๒ ซ.ม.สูง ๒.๕ ซ.ม.)
พิมพ์ทรงสง่างามเข้มขลัง รายละเอียดอ่อนช้อยงดงามคลาสสิค ขนาดกำลังสวยพอเหมาะสำหรับเลี่ยมขึ้นคอ
บูชาทั้งบุรุษและสตรี มีหลายเนื้อหลายโทนสี ขึ้นอยู่กับชนวนมวลสารที่ใช้ผสมสร้าง
ซึ่งขึ้นกับรสนิยมความต้องการของผู้เช่าบูชา มีทั้งไม่ตอกโค้ด , ตอก ๑ โค้ด , ตอก ๒ โค้ด ,
ตอกหมายเลขและไม่ตอกหมายเลขกำกับ เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ แบ่งแยกมวลสารของพระแต่ละประเภท
รวมทั้งหมด ๑๖ แบบ และแบบพิเศษเนื้อนำฤกษ์ ดังต่อไปนี้ครับ
แบบที่ ๑ เนื้อผงงาช้างดำผสมทรายดำลังกาวี เนื้อจะสีดำเข้มทั้งองค์ หายากสร้างน้อยที่สุด
จำนวนหลักสิบองค์ (ตอก ๑ โค้ด) แบ่งได้ ๓ แบบ ดังนี้
แบบที่ ๑.๑ ฝังพลอยเสกเม็ดใหญ่ที่ฝ่ามือและหัวไหล่ทั้งสองในบางองค์มีพบบ้างที่ฝังพลอยไม่ครบ ๓ เม็ด
และไม่ได้ฝังพลอยในจุดตำแหน่งที่กล่าวข้างต้น
แบบที่ ๑.๒ ไม่ฝังพลอยเม็ดใหญ่ แต่จะเห็นพลอยเม็ดเล็กโผล่ที่ผิวพระ
แบบที่ ๑.๓ ไม่ฝังพลอยเม็ดใหญ่ และไม่เห็นพลอยเม็ดเล็กโผล่ที่ผิวพระ
แบบที่ ๒ เนื้อฟอสซิลคลุกรัก สร้างจากฟอสซิลของสัตว์ใหญ่อายุนับหมื่นปี นานาชนิดคลุกรัก
(ไม่ตอกโค้ด) จำนวนสร้าง ๖๐ องค์
แบบที่ ๓ เนื้อชานหมาก สีน้ำตาลเข้ม (ไม่ตอกโค้ด) ขนาดพระจะย่อมกว่าเนื้ออื่นเล็กน้อย
เนื่องจากการหดตัวของเนื้อพระมีมากกว่าพระเนื้ออื่น นอกจากจะมีชานหมากของหลวงปู่เป็นมวลสารหลัก
แล้วยังมีส่วนผสมชนวนมวลสารอื่นๆอันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่อีกหลายอย่าง
ได้แก่ จีวร เศษหมวกไหมพรม เศษไม้เท้า เส้นเกศา ผงพุทธคุณ ผงยาและว่านมงคล ๑๐๘ อีกด้วย
เนื้อพระจะแห้งได้อายุและมีกลิ่นหอมเนื้อพระรักษายาก เป็นที่ต้องการกัดเจาะของมดและแมลง
จำนวนสร้างน้อย หลักสิบองค์ แบ่งออกได้เป็น ๓ แบบ ดังนี้
แบบที่ ๓.๑ ฝังตะกรุดใต้ฐานพระ (ต้องฝังคนละรูกับรูไม้เสียบ ไม่ใช่สอดใส่ตะกรุดลงไปในรูไม้เสียบ)
แบบที่ ๓.๒ ไม่ฝังตะกรุดใต้ฐานพระ
แบบที่ ๓.๓ เคลือบแลคเกอร์เพื่อรักษาผิวพระ
แบบที่ ๔ เนื้อว่าน สีน้ำตาลอ่อนกว่าสีของเนื้อชานหมาก ผิวจะละเอียดและมีน้ำหนัก
มากกว่าเนื้อชานหมากเล็กน้อย และเนื้อจะหนึกนุ่มกว่า(ไม่ตอกโค้ด) จำนวนสร้างน้อยหลักสิบองค์
แบบที่ ๕ เนื้อผงกสิณไฟหลวงปู่สรวงผสมผงเหล็กน้ำพี้หลวงปู่หมุน ฝังเนื้อชนวนพระแก้ว สีเทา (๒ โค้ด)
กรรมการ แม่เหล็กดูดติด จำนวนสร้างน้อยมากหลักสิบองค์ แบ่งได้เป็น ๒ แบบ ดังนี้
แบบที่ ๕.๑ ฝังเนื้อชนวนพระแก้วองค์ใหญ่ ฝังชิ้นใหญ่ชิ้นเดียวที่ท้ององค์พระ
แบบที่ ๕.๒ ฝังเนื้อชนวนพระแก้วองค์ใหญ่ ฝังกระจายเป็น ๒-๓ จุดหน้าองค์พระ
แบบที่ ๖ เนื้อผงกสิณไฟหลวงปู่สรวงผสมผงเหล็กน้ำพี้หลวงปู่หมุน
ฝังเม็ดชนวนพระแก้วเป็นลักษณะเม็ดเล็กๆบริเวณกลางองค์พระด้านหน้า และตลอดแนวยันต์ด้านหลัง
องค์พระ (ตอก ๒ โค้ด) แม่เหล็กดูดติด จำนวนสร้างน้อยหลักสิบองค์
แบบที่ ๗ เนื้อผงกสิณไฟหลวงปู่สรวงผสมผงเหล็กน้ำพี้หลวงปู่หมุน (ไม่ฝังชนวนพระแก้ว เนื้อเทา ตอก ๒ โค้ด)
กรรมการ แม่เหล็กดูดติด จำนวนสร้างน้อยหลักสิบองค์
แบบที่ ๘ ปิดตาเคลือบเหลืองอมน้ำตาล (ตอก ๒ โค้ด) เนื้อผงเหล็กน้ำพี้ (เนื้อเดียวกับพระบูชายืนรุ่นไตรมาสรวยทันใจ)
ผิวเคลือบจะละเอียดขึ้นเงา และสีจะเข้มกว่าพระปิดตาทาทอง จำนวนสร้างน้อยมากหลักสิบองค์
แบบที่ ๙ ปิดตาเนื้อผงเหล็กน้ำพี้ เนื้อน้ำตาลแดง (ตอก ๑ โค้ด) แม่เหล็กดูดติด
เป็นเนื้อชนิดเดียวกับเนื้อพระบูชายืนเนื้อผงเหล็กน้ำพี้ รุ่นไตรมาสรวยทันใจ สร้างจำนวนน้อยมากหลักสิบองค์เท่านั้น
เพราะสร้างจากเนื้อที่เหลือจากการสร้างพระบูชายืนซึ่งเหลือผงอยู่อย่างจำกัดมากโดยให้สิทธิ์เช่าบูชาเป็นพิเศษ
เฉพาะผู้ที่สั่งจองพระบูชายืนขนาดสูง ๑๙ นิ้ว คนละเพียง ๑ องค์เท่านั้น
พระปิดตาเนื้อนี้จะมีความสวยงามคมชัดมากทุกองค์ เพราะทำการกดอัดพิมพ์แน่นเป็นพิเศษ
และใช้ผงเหล็กน้ำพี้ของพระบูชายืน ซึ่งเป็นเนื้อมวลสารละเอียดล้วนๆ
โดยที่หลวงปู่มิได้นำมวลสารอื่นใดมาผสมรวมเพิ่มเติมแม้แต่น้อยผิวเนื้อและสีสันวรรณะของพระปิดตาเนื้อนี้
จึงเป็นแบบเดียวกับพระบูชายืนทุกประการ
แบบที่ ๑๐ ปิดตาเนื้อผงใบลาน สีเทาอ่อนอมดำ (ตอก ๑ โค้ด) จำนวนสร้าง ๖๐ องค์
ลักษณะจะคล้ายคลึงกับแบบที่ ๑๑ (เนื้อผงเหล็กน้ำพี้)มากเพราะเป็นพระเนื้อสีเทา ตอก ๑ โค้ดเหมือนกัน
แต่เนื้อผงใบลานสีจะเข้มกว่า เนื้อจะละเอียดหนึกแน่นกว่าน้ำหนักมากกว่า และแม่เหล็กดูดไม่ติด
แบบที่ ๑๑ เนื้อผงเหล็กน้ำพี้ เนื้อเทา (ตอก ๑ โค้ด) แม่เหล็กดูดติด จำนวนสร้าง ๗๐ องค์
แบบที่ ๑๒ เนื้อข้าวเหนียวดำ เนื้อน้ำตาลอ่อนอมเทา (ตอก ๑ โค้ด) ส่วนผสมมวลสารหลัก
ได้แก่ ข้าวเหนียวดำ ผงแร่ ข้าวก้นบาตรหลวงปู่หมุน และยังมีผงกสิณไฟหลวงปู่สรวง
ผงว่าน ผงพุทธคุณ ๑๐๘ ผงชานหมากหลวงปู่หมุนรวมอยู่ด้วยจำนวนสร้าง ๒๐๐ องค์
แบ่งออกเป็น ๒ แบบ ได้แก่
แบบที่ ๑๒.๑ เนื้อข้าวเหนียวดำ ฝังพลอยเม็ดใหญ่ ๓ เม็ด ที่ฝ่ามือ ๑ เม็ด
และที่หัวไหล่ทั้งสองข้างอีกข้างละ ๑ เม็ด ในบางองค์มีพบบ้างที่ฝังพลอยไม่ครบ๓ เม็ด
และไม่ได้ฝังพลอยในจุดตำแหน่งที่กล่าวข้างต้นจำนวนสร้างหลักสิบองค์
แบบที่ ๑๒.๒ เนื้อข้าวเหนียวดำ (ไม่ฝังพลอย) จำนวนสร้างร้อยกว่าองค์ (รวมกับแบบแรกแล้วไม่เกิน ๒๐๐ องค์)
แบบที่ ๑๓ ปิดตาทาทอง เนื้อผงดินเก่าเผา ผสมอิฐหัก ทรายลังกาวี จีวร เศษหมวกไหมพรม
เศษไม้เท้า เศษเกศาหลวงปู่ ทาทองแล้วเคลือบ มีทั้งตอก 1 โค้ด และ 2 โค้ด องค์พระจะมีน้ำหนักมากกว่าทุกแบบ
เพราะมวลสารส่วนใหญ่เป็นดินเก่าและอิฐหักเผา ที่รูเสียบเหล็กเผาไฟใต้ฐานพระจะมีรอยไหม้สีดำโดยรอบ
จำนวนสร้าง ๓๐๐ องค์
แบบที่ ๑๔ เนื้อผงงาช้างผสมผงกสิณ ฝังชนวนพระแก้วมรกต เนื้อขาวนวล
(สีขาวงาช้าง) ตอก ๒ โค้ด ฝังเม็ดชนวนพระแก้วเม็ดเล็กๆบริเวณกลางองค์พระด้านหน้า
และตลอดแนวยันต์ด้านหลัง จำนวนสร้าง๓๐๐ องค์
แบบที่ ๑๕ เนื้อผงงาช้างผสมผงกสิณ (ไม่ฝังชนวนพระแก้วมรกต)เนื้อขาวนวล
(สีขาวงาช้าง) (ตอก๒ โค้ด)จำนวนสร้าง ๑,๐๐๐ องค์
แบบที่ ๑๖ เนื้อผงงาช้าง เนื้อขาวนวล (สีขาวงาช้าง)ตอก ๑ โค้ด
และตอกหมายเลขประจำองค์พระจำนวนสร้าง ๑,๙๙๙ องค์
|