พุทธคุณเด่นมาก ด้านมหาอำนาจ เสริมบารมี แคล้วคลาดปลอดภัย
กันเขี้ยวงาศาสตราวุธป้อง กันภยันตรายต่างๆเป็นเลิศครับ
ประวัติหลวงพ่อหอม จนฺทโชโต หรือ พระครูภาวนานุโยค
อดีตเจ้าอาวาสวัดซากหมาก หมู่ที่ ๒ ตำบลสำนักท้อน กิ่งอำเภอบ้านฉาง (ปัจจุบันเป็นอำเภอบ้านฉาง)
จังหวัดระยอง เดิมชื่อ หอม ทองสัมฤทธิ์ เกิดวันจันทร์เดือน๑๐ ปีขาล พุทธศักราช๒๔๓๓
เป็นบุตรของนายสัมฤทธิ์ กับนาง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันสามคน หลวงพ่อเป็นคนสุดท้อง
พี่ทั้งสองคนเป็นหญิง คนโตชื่อ นางวอน คนรองชื่อนางเชื่อม เมื่อเยาว์วัยอาศัย
อยู่กับบิดามารดาที่บ้านเกิดของท่านเองส่วนในการศึกษาเบื้องต้นนั้นเป็นน่าเสียดาย
ที่ไม่มีผู้ใดทราบว่าท่านได ศึกษากับใครที่ไหน เพราะในสมัยนั้นโรงเรียนในชนบทที่ห่างไกลจากความเจริญ
เช่นบ้านเกิดหลวงพ่อคงยังไม่มีตั้งขึ้นแน่นอน การดำรงชีพของหลวงพ่อในสมัยนั้น
ก็เป็นการช่วยบิดามารดาทำสวนทำไร่และเก็บของ ป่าขายในตัวตลาด
ซึ่งการเดินทางไปตลาดบ้านฉางหรือตลาดสัตหีบในสมัยนั้นลำบากมาก
เพราะยังไม่มีถนนอย่างเช่นในปัจจุบัน ต้องอาศัยทางเกวียน ซึ่งผ่านป่าดงดิบ แวดล้อมไปด้วย
สัตว์ป่านานาชนิด ถ้าเป็นฤดูฝนด้วยแล้วก็จะยิ่งเพิ่มความลำบากเป็นทวีคูณ
และคงจะเป็นเพราะว่าหลวงพ่อเคยมีชีวิตจำเจอยู่แต่ในป่าดงดิบนี่เอง
จึงทำให้ท่านพยายามพัฒนาป่าให้กลับกลายเป็นหมู่บ้านที่มีความเจริญขึ้นใน ทุกๆ ด้าน
โดยท่านเห็นว่าหากมีถนนตัดจากจากที่เจริญเข้าสู่หมู่บ้านได้เมื่อใด ความเจริญนั้น
ก็ต้องขยายตัวของมันเองตามถนนไปด้วยอย่างแน่นอน จึงได้ร่วมกับนายหยอย สุวรรณสวัสดิ์
กำนันตำบลสำนักท้อนคนก่อน ชักนำชาวบ้านช่วยกันตัดถนนจากบ้านฉาง
เข้าไปจนถึงบ้านซากหมากระยะทาง ๑๒ กิโลเมตรจนสำเร็จและถนนสายนี้ในปัจจุบัน
ได้กลายเป็นถนนสายอเนกประสงค์แล้วอย่างสมบูรณ์
เมื่อหลวงพ่ออายุครบ๒๑ปี ก็โอกาสทำหน้าที่ของลูกชายไทยอย่างเต็มภาคภูมิด้วยการได้รับคัดเลือกเข้ารับ
ราชการทหารในกองทัพเรือ ในสมัยที่ฐานทัพเรือยังตั้งอยู่ที่บางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าสังกัดอยู่หน่วยไหนและใครบ้างที่เป็นผู้บังคับบัญชาโดย ตรงของท่าน
ทราบแต่เพียงว่าในขณะที่ท่านรับราชการอยู่นั้นไม่เคยถูกลงโทษฐานกระทำผิด วินัยเลย
ทั้งไม่เคยมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับบรรดาเพื่อนๆ ด้วยตรงกันข้ามกับเป็นที่รักใคร่ของเพื่อนฝูงทุกคน
เพราะปกติท่านเป็นคนมีนิสัยเยือกเย็น สุขุมและโอบอ้อมอารีต่อทุกคนอยู่แล้ว
เมื่อรับราชการทหารครบ ๒ปีทางราชการก็ปลดออกจากประจำการ จึงกลับไปช่วยบิดามารดา
ประกอบอาชีพที่บ้านสำนักท้อนตามเดิม และในช่วงนี้เองก็ได้แต่งงานกับ นางเจียม
ซึ่งเป็นหญิงสาวในหมู่บ้านเดียวกันนั้น และมีบุตรด้วยกัน ๓ คนคือ นาย
นายหรั่ง ทองสัมฤทธิ์ นายหรั่น ทองสัมฤทธิ์การครองชีวิตแบบคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนของหลวงพ่อ
ได้เป็นไปอย่างธรรมดาเรื่อยๆ มาโดยพร้อมกันนั้นก็ได้พยายามถ่ายทอดวิชารักษาโรคต่างๆ
จากบิดาไปด้วยจนมีความรู้ความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไปจากบิดาของท่านแต่อย่างใด
แล้วก็ได้ใช้วิชาความรู้นี้ช่วยเหลือเพื่อนบ้านตลอดมา
หลวงพ่อหอมวัดซากหมากฯ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๙อายุ ๓๖ ณ พัทธสีมาวัดทับมา ตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
โดยมีหลวงพ่อขาว วัดทับมาเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจี๊ด วัดเขาตาแขก
เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า เป็นอนุสาวนาจารย์
เมื่อหลวงพ่อหอมอุปสมบทใหม่ๆ ยังเป็นนวกภิกษุผู้น้อยด้วยคุณวุฒิ
ไม่อาจจะปกครองตนเองและผู้อื่นได้ จึงยังจำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยเบื้องต้น
ในฐานะอันเตวาสิกของหลวงพ่อชื่น อยู่ที่วัดมาบข่า แต่เพียงชั่วระยะ ๒ พรรษาเท่านั้น
หลวงพ่อหอมก็เป็นผู้แตกฉานในพระธรรมวินัยอย่างน่าอัศจรรย์ เนื่องจากเป็นผู้มีความเพียร
เป็นเลิศยากที่จะหาพระภิกษุรูปใดในรุ่นเดียวกันเสมอเหมือนได้แม้หลวงพ่อชื่นเอง
ก็ยังเคยปรารภให้พระภิกษุรูปอื่นๆ ฟังว่า อีกหน่อยคุณหอมเขาจะหอมทวนลมนะ”
และต่อมาหลวงพ่อหอมก็ได้กลายเป็นหลวงพ่อผู้ มีชื่อเสียงหอมทวนลมจริงดั่งคำของหลวงพ่อชื่นนั้น
เมื่อหลวงพ่อหอมได้รับอนุญาตจากหลวงพ่อชื่นซึ่งเป็นพระอาจารย์เบื้องต้นไป อยู่ที่วัดซากหมากใกล้ๆ
บ้านเกิดของท่านแล้ว ก็ได้พยายามค้นคว้าศึกษาพุทธเวทย์เพิ่มเต็มอย่างจริงจังจนบังเกิดผลดังที่
ได้ประจักษ์แก่บรรดาศิษยานุศิษย์อย่างถ้วนหน้าแล้วนั้น นอกจากท่านจะได้สร้างวัตถุมงคลอันศักดิ์สิทธ์
เพื่อให้ผู้มีไว้บูชาบังเกิดที่พึ่งทางใจอย่างได้ผลแล้วก็ยังได้สร้าง ถาวรวัตถุขึ้นไว้ในวัดอีกหลายประการด้วยกัน
เช่น อาคาร ศาลา หอระฆัง หอไตรกลางสระน้ำและอีกหลายๆ อย่างที่ท่านได้สร้างไว้
ด้วยความที่หลวงพ่อหอมเป็นผู้ประกอบคุณงามความดีให้ปรากฏในศาสนจักรและราช
อาณาจักรมากมายนี่เองจึงได้พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯจาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่๙แห่งราชวงศ์จักรี
พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี เป็นพระครูภาวนานุโยค
ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๗ นับเป็นเกียรติยศ
อย่างยิ่งแก่หลวงพ่อและบรรดาศิษยานุศิษย์โดยทั่วหน้ากันและ ในโอกาสนี้เอง
ที่หลวงพ่อหอมได้สร้างพระกริ่งรูปเหมือนแหนบบูชารูปเหมือน(ชนิดสั้น)
รูปปั้นเหมือนองค์จริงแบบบูชาเป็นรุ่นแรกขึ้น กับได้สร้างเหรียญรูปเหมือนรุ่นสองแบบ
หน้านูนครึ่งองค์ด้านหลังเหมือนกับ เหรียญรุ่นแรกพร้อมกับแหวนทองแดงรูปเหมือน
และแบบเดียวกับที่สร้างเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๙๘
หลวงพ่อหอม จนฺทโชโต หรือพระครูภาวนานุโยคได้อาพาธด้วยโรคชรา
และมรณภาพด้วยอาการสงบเมื่อเวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น.ของวันที่ ๑๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๐
(นับวันเวลาสากล) ณ โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
รวมอายุได้ ๘๗ปี ๕๑ พรรษา และได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายนพุทธศักราช ๒๕๒๑
ภายหลังจากท่านมรณภาพแล้ว ๓๗๕ วัน ณ. วัดซากหมากฯ หมู่ที่ ๒ ตำบล สำนักท้อน
กิ่งอำเภอบ้านฉาง (ปัจจุบันเป็นอำเภอบ้านฉาง) จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นวัดที่ท่าน
ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมาโดยตลอดนั้นเอง
|