หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก

ประวัติ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก

ประวัติหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก

         หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน หรือ พระครูนิยุตธรรมสุนทร แห่งวัดหนองจอก

ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ท่านเป็นอีกหนึ่ง ในบรรดาพระเกจิอาจารย์

ผู้เปี่ยมอภิญญาอาคมขลัง ท่านถวายตัวเป็นถตาคตสืบทอดและเผยแพร่พุทธศาสนา

ตามแนวทางของพระศาสดาอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นผู้สร้างวัดหนองจอกด้วยมือของท่านเอง

จากที่รกร้างเต็มไปด้วยป่าไผ่และดงหนาม จนสำเร็จเป็นวัดที่เจริญและงดงามในปัจจุบัน


         ย้อนกลับไปประมาณซัก 10 ปี ผู้ที่นิยมพระเครื่องน้อยคนที่ไม่รู้จักชื่อ

หลวงพ่อยิดแห่งวัดหนองจอก ด้วยที่ว่างานสรงน้ำปีละครั้งเดียว

(หมายถึงว่า ใน 1 ปีหลวงพ่อยิดท่านอาบน้ำเพียง 1 ครั้งคือในงานสรงน้ำนั่นเอง)

และจะอนุญาติให้ลูกศิษย์ที่มาสรงน้ำท่านใช้แปรงทองเหลือง

(ชนิดเดียวกับที่ใช้ทำความสะอาดพื้นปูนซีเมนต์) ขัดทำความสะอาดตัวท่าน

โดยที่แปรงทองเหลืองที่แสนคมหาได้ระคายผิวหนังของหลวงพ่อยิดแม้ซักนิด

เป็นข่าวขจรขจายไปทั่วในเวลานั้น ส่วนวัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดที่ขึ้นชื่อคือ

ปลัดขิก ที่สร้างปาฏิหารย์บินได้ เป็นที่นิยมกว้างขวางในหมู่ ทหารและตำรวจ

เพราะเชื่อกันว่าใครมีปลัดขิกของหลวงพ่อยิดติดตัวแล้วจะดีเด่นในด้าน

เมตตามหานิยมและแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวงอีกทั้งมีผู้ประสบ เหตุการณ์ต่างๆ

ทั้งแคล้วคลาดและโชคลาภจากการบูชาวัตถุมงคลจากหลวงพ่อยิดติดตัว

ชื่อเสียงของหลวงพ่อยิดจึงโด่งดังมากในยุคนั้น ปัจจุบันแม้หลวงพ่อยิด

ท่านได้ละสังขารไปแล้ว แต่วัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดก็ยังคงความศักดิ์สิทธิ์ดีเด่น

ในด้านเมตตาแคล้วคลาด เล่นหาบูชากันในวงกว้าง

ชาติภูมิ

         หลวงพ่อยิดท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด

มีนามเดิมว่ายิด ศรีดอกบวบ บิดาชื่อ แก้ว มารดาชื่อพร้อย

มีพี่น้องร่วมสายโลหิต 7 คน ท่านเป็นคนที่ 4

อุปสมบท

         เมื่ออายุ 6 ขวบ บิดามารดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ พระอาจารย์หวล วัดนาพรม

(ท่านเป็นน้าของ ด.ช.ยิด) และเห็นว่าเป็นเด็กที่ชอบอยู่วัด และจะเดินตามหลวงน้า

ไปวัดทุก ๆ วัน ในตอนเช้าหลังจากใส่บาตรแล้ว ครั้นอายุได้ 9 ขวบได้บวชเป็นสามเณร

ณ.วัดนาพรหม โดยมีพระอธิการหวล (หลวงน้า) เป็นอุปฌาย์ ได้ศึกษาอักขระ

เลขยันต์และฝึกปฏิบัติสมาธิกับพระอธิการหวล และครูหลี แม้นเมฆ

มีความสนใจในด้านวิชาอาคม สักยันต์และร่ำเรียนศึกษาพระธรรมวินัย ควบคู่กันไป

และได้ขออนุญาติออกธุดงค์วัตรกับพระอุปฌาย์ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร

โดยออกธุดงค์เป็นเวลา 4ปี และได้ลาสิกขามาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนาตอนอายุ 14 ปี

และในช่วงนี้นี่เองที่หลวงพ่อยิด เริ่มมีชื่อเสียงจากการ สักยันต์ เนื่องจากเพื่อน ๆ

ในวัยเดียวกัน ได้ลองให้หลวงพ่อยิด สักยันต์ ให้แล้วเกิดมีประสบการณ์

จึงเล่ากันปากต่อปากและมีผู้มาสักยันต์มากขึ้น

         เมื่ออายุได้ 20 ปีก็ได้อุปสมบทตามประเพณี โดยมีหลวงพ่ออินทร์

วัดยางเป็นพระอุปฌาย์ พระอธิการหวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ ฉายาว่า

จันทสุวัณโณ และได้ศึกษาด้านวิชาอาคม เพิ่มเติมโดยฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อศุข

วัดโตนดหลวง และได้ออกธุดงค์ศึกษากรรมฐานหายเข้าป่าหลายปีจนได้กลับมาวัดนาพรหม

ในปี พ.ศ. 2487 ก็ได้ทราบข่าวการป่วยของบิดา จึงคอยดูแลจนกระทั่งบิดาเสีย

จึงลาสิกขาออกมาดูแลมารดาซึ่งแก่ชรามาก และได้แต่งงานมีครอบครัว

ส่วนลูกศิษย์เก่า ๆ ที่ได้จากการสักจากหลวงพ่อ พอรู้ข่าวก็ได้มาสักกัน

เพิ่มขึ้นจนมีชื่อเสียงโด่งดังแต่มีบางคนที่ได้รับการสักยันต์จากหลวงพ่อแล้ว

กลับประพฤติตนเป็นอันธพาล จนทางตำรวจท้องที่ต้องขอร้องอาจารย์ยิด

         ต่อมาจึงมีการเลือกเฟ้นจนแน่ใจแล้ว จึงจะทำการสักให้ จนกระทั่งปี 2518

จึงได้อุปสมบทอีกครั้งที่วัดเกาะหลัก โดยมีหลวงพ่อเปี่ยมเป็นพระอุปฌาย์

ได้รับฉายา จันทสุวัณโณ เช่นเดิม ซึ่งขณะนั้นท่านอายุ 51 ปี เมื่ออุปสมบทแล้ว

ก็เดินทางไปจำพรรษาเป็นพระลูกวัดที่ วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรีจ.ประจวบฯ

ได้พบกับอุบาสิกาใจบุญ 2 ท่าน ยกพื้นที่ดินว่างเปล่าพื้นที่ 21 ไร่ 2 งาน

ให้โดยปรารถนาให้ท่านสร้างวัดขึ้น ที่ดินผืนนี้เต็มไปด้วย ป่าไผ่ และดงต้นหนาม

ซึ่งหลวงพ่อได้ปลูกกระต๊อบหลังเล็ก ๆ ไว้ และก็เริ่มถางป่าไผ่ พัฒนาไปเรื่อย ๆ

จนพื้นที่รกทึบเริ่มโล่งมากขึ้น จนกระทั่งบรรดาลูกศิษย์ที่ได้รับการสักยันต์

และพวกที่เคยได้รับการรักษายาสมุนไพร ได้รู้ข่าวการสร้างวัดใหม่ของหลวงพ่อ

ก็ได้มาร่วมกันสร้างวัดด้านผู้ชายก็ช่วยถากถาง ผู้หญิงก็ช่วยหุงหาอาหาร

แจกจ่ายและได้รวมกันสร้างกุฏิขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ ในขั้นแรก และต่อมา

ได้พัฒนาเป็นวัดหนองจอกในปัจจุบัน

มรณภาพ

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2538 สิริอายุ 71 ปี 30 พรรษา

วัตถุมงคล

         หลวงพ่อยิด ได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลแบบทดลองสร้างดูพุทธคุณตั้งแต่สมัยเป็นอาจารย์ยิด

โดยสร้างเป็นตะกรุดเพียงไม่กี่ดอก ได้มาเริ่มสร้างวัตถุมงคลแบบจริง ๆ จัง ๆ

ก็ตอนสร้างวัดหนองจอกนี่เอง โดยสร้างเป็นเหรียญรูปหล่อ และปลัดขิก

และสร้างเรื่อยมา เพราะลูกศิษย์ลูกหาต่างแสวงหา เพราะต่างก็เชื่อมั่นในพุทธคุณ

ของวัตถุมงคลที่หลวงพ่อจัดสร้างขึ้น

ปัจจุบัน วัตถุมงคลของหลวงพ่อยิดได้รับความนิยมมาก แต่ราคายังถูกอยู่คือ

จะอยู่ประมาณ หลักร้อยถึงหลักพันต้น ถ้าสนใจอยากบูชาไว้คุ้มครองตัว

ให้จดจำลักษณะให้ดีแล้วจะได้ของดีไว้บูชาครับ

ประวัติ หลวงพ่อยิด อีกหนึ่งที่มา... มีดังต่อไปนี้ครับ

หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก เสก “ปลัดขิก” จนกระดิกได้

         เมื่อพูดถึง “ปลัดขิก” นับเป็นเครื่องรางของขลังที่พระเกจิอาจารย์ดังในอดีต

หลายองค์นิยมสร้างกันอาทิ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา,

หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี,หลวงพ่อโสก วัดปากคลองบางครก เพชรบุรี, ฯลฯ

         ปลัดขิกของแต่ละท่าน ล้วนโด่งดัง-เข้มขลังด้วยประสบการณ์ เล่าขานสืบมาจนทุกวันนี้

หนึ่งในเกจิอาจารย์ที่สร้างตำนาน “ปลัดขิก” จนดังสะท้านประเทศก็คือ

“หลวงพ่อยิด จนฺทสุวณฺโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองจอก อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

วิทยาคมของท่านนั้นแก่กล้าขนาดที่ว่าสามารถเสกปลัดขิกบินรอบวัด

ก่อนจะแจกจ่ายให้ญาติโยม นี่คือเรื่องจริงที่หลายๆ คนได้ประจักษ์กับสายตามาแล้ว

         หลวงพ่อยิด เกิดในสกุล “สีดอกบวบ” เมื่อวันอังคารที่ 10 มิ.ย. 2467

ณ บ้านหัวหรวด ต.นาพันสาม อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน

ของนายแก้ว และ นางพร้อย

         สมัยเด็กไปอยู่กับหลวงพ่อหวล (มีศักดิ์เป็นน้า) ที่วัดประดิษฐนาราม (วัดนาพรม)

จนกระทั่งบวชเป็นเณรเมื่ออายุ 9 ขวบ และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ ภาษาขอม

เลขยันต์ พร้อมกับเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง

         อายุ 14 ปีลาสิกขาออกมาช่วยครอบครัว ซึ่งย้ายไปประกอบอาชีพ ที่อ.กุยบุรี

จนอายุ 20 ปีก็กลับมาอุปสมบทที่วัดนาพรม มีหลวงพ่ออินทร์

(เจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรีขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อหวล

เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์พ่วง วัดสำมะโรง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาทางธรรมว่า “จนฺทสุวณฺโณ” มีความหมายว่า “ผู้มีวรรณะดุจพระจันทร์”

         ต่อมาบิดาเสียชีวิต ท่านจึงลาสิกขาออกมาดูแลมารดา และได้มีครอบครัว

อยู่กินกับนางธิติจนมีบุตรหนึ่งคน ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง

ในปี พ.ศ.2517 ณ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังจากนั้นได้มาจำพรรษาที่วัดทุ่งน้อย

ต.เขาแดง อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาผู้มีจิตศรัทธาซึ่งเลื่อมใสในตัวท่าน

ได้มอบที่ดิน 21 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี

ให้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ชื่อ “สำนักสงฆ์พุทธไตรรัตน์” เมื่อปี พ.ศ.2518

ก่อนจะขออนุญาตสร้างเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ.2527 ตั้งชื่อว่า “วัดหนองจอก”

ปี พ.ศ.2535 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ

ทรงประทานพัดยศแก่ท่าน เป็น “พระครูนิยุตธรรมสุนทร”

         หลวงพ่อยิด นั้นได้ชื่อนักพัฒนาที่มีฝีมือรูปหนึ่ง เห็นได้จากการสร้างสรรค์พัฒนา

ให้วัดหนองจอก จนเป็นวัดที่สมบูรณ์มีถาวรวัตถุทางศาสนาครบ ยากที่จะหาวัดใดๆ

สร้างได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ ท่านยังพัฒนาจิตใจและการศึกษา

ของเด็กและเยาวชนอย่างเต็มที่ โดยสนับสนุนด้านทุนการศึกษา,

ทุนอาหารกลางวันแก่โรงเรียนหลายแห่งใน จ.ประจวบฯ รวมทั้ง

ร่วมสร้างสาธารณประโยชน์แก่สถานที่ราชการและหน่วยราชการมากมาย

         สมัยยังชีวิต ท่านมีกิจนิมนต์ในการปลุกเสกพระเครื่องรางของขลังทั่วประเทศ

จนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ในวันเสาร์ 5 ท่านปลุกเสกวัดแรกที่ จ.นครสวรรค์

วัดสุดท้ายที่วัดหนองจอก แต่ละวัดจะปลุกเสกวัดละ 30 นาที รวมทั้งหมดวันเดียว

ปลุกเสก 9 วัด การรับแขกของหลวงพ่อยิดแต่ละวันนั้น บางวันแทบไม่ได้ลุกไปห้องน้ำเลย

นอกจากฉันอาหารเพลเท่านั้น แม้แต่ยามอาพาธ ก็ยังแสดงความอดทนออกมา

ต้อนรับญาติโยมเหมือนไม่เป็นอะไรเลย  ยิ่งเรื่องการเขียน

การจารวัตถุมงคลด้วยแล้ว บางวันถึงขนาดไม่ได้ฉันข้าวก็มี

เมื่อเขียน,จารเสร็จแล้ว ท่านจะเอานิ้วที่ซีดแนบเนื้อติดกระดูกให้ผู้อยู่ใกล้ชิดดู

จนต้องช่วยกันบีบนวดให้เพราะสงสารท่าน

         พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ส่วนมากจะมีปัญหาเกี่ยวกับผู้ใกล้ชิด

ลูกศิษย์ กลุ่มพุทธพาณิชย์ หาผลประโยชน์จากการสร้างวัตถุมงคลเพื่อหวังผลกำไร

จำนวนมหาศาล เช่นเดียวกับหลวงพ่อยิด ซึ่งมีหลายกลุ่ม แต่ท่านจะไม่ว่าอะไรใครทั้งสิ้น

         เมื่อมีผู้ถาม ท่านก็จะตอบว่า “ใครที่ประพฤติตนหาผลประโยชน์จากพระ

บุคคลนั้นต่อไปจะยากจน เพราะตัวเองจะป่วย แล้วก็ใช้เงินจากการจำหน่าย

พระมารักษาตัวจนหมดสิ้น และชีวิตก็จะอยู่ไม่มีความสุขภายในครอบครัว”

และวาจาท่านก็ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งเสียด้วย เพราะมีหลายคนที่เป็นไปตามคำพูดนั้น

         เรื่องแปลกของหลวงพ่อยิดเรื่องหนึ่งก็คือ ท่านสรงน้ำปีละครั้ง ในเดือน 4

ในวันอาทิตย์แรกของข้างแรม สาเหตุก็เนื่องมาจาก ท่านได้รับปากกับอาจารย์

ที่สอนวิชาอาคมให้สมัยที่ยังเป็นฆราวาส เมื่อเรียนจบแล้ว ท่านก็อาบน้ำ

จนกระทั่งบวชเป็นพระก็สรงน้ำปีละครั้งตลอดมาจนมรณภาพ

         ลูกศิษย์และผู้เคารพศรัทธาจะเอาแปรงทองเหลืองขัดตัวท่าน

ท่านจะยิ้มเพราะไม่เจ็บ และไม่ระคายผิวหนังแม้แต่น้อย กระทั่งปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา

จึงงดใช้แปรงขัดเนื่องจากหมอขอร้อง เพราะแม้ผิวหนังท่านจะคงกระพันจริง

แต่เนื้อและเส้นโลหิตไม่ได้คงกระพันด้วย อาจจะเป็นอันตรายได้

         ท่านมักจะสอนศิษย์เสมอว่า การที่จะปลุกเสกวัตถุมงคลให้ขลังนั้นจะต้องมีสมาธิ

และสัจจะ โดยเฉพาะสัจจะสำคัญมาก เพราะฉะนั้น วัตถุทุกชนิดเมื่อผ่านการปลุกเสกจากท่าน

จึงเชื่อถือกันว่ามีความขลังและศักดิ์สิทธิ์มาก ที่โด่งดังและรู้จักกันดีทั่วประเทศก็คือ

“ปลัดขิก” ซึ่งท่านปลุกเสกจนกระดุกกระดิกเคลื่อนไหวได้ เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็น

แม้แต่ผู้ที่มีความรู้เป็นถึงนักเรียนนอกอย่าง ม.ล.ปาณสาร หัสดินทร

อดีตรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังนับถือ เพราะได้ประสบมากับตาตนเอง

คุณวิเศษในปลัดขิกที่ผ่านการปลุกเสกจากท่าน ใช้ดีในทางเมตตามหานิยม

แคล้วคลาด ค้าขาย เรื่องแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ตะขาบ แตน ต่อ แมงป่อง

เอาไปวนบริเวณที่กัดจะหายเป็นปลิดทิ้งทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเชื่อความศรัทธาเป็นที่ตั้ง

แต่สิ่งหนึ่งที่ฝังอยู่ในใจศิษย์ตลอดมาก็คือภาพอดีตที่ฉายให้เห็นถึงคุณงามความดีที่
ท่านสร้างไว้ให้วัดหนองจอก,พระพุทธศาสนา

และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ซึ่งไม่มีวันลบเลือนไปง่ายๆ

龍婆意 或者稱 LuangPor Yid,Wat Nongjork。估計很多收藏

圣物的朋友都認識。今天納蘭撒就寫一些有關這位法力高深的僧人資料。

龍婆意出生于6月10號,佛歷2467年,是家里的第四個孩子。

曾經出家 過三次。小時候父母讓他出家成為小沙彌。

當時他的舅舅已經是一位非常 出名的法力僧。舅舅非常希望他能成為一位得道高僧,

所以希望他鉆心研 究佛法,并且反對他學法術。由于抵抗不住“意”小沙彌的請求,

最后還是傳 法術于他。所以,從小“意”就經常跟隨舅舅到深山修行。

后來由于沒人照顧父母,意決“意”要還俗回家,并且答應如果到了 20歲

會再次出家,以便父母可以得到兒子出家的功德,往生后升天。光陰似箭,

意有第二次出家,這次被稱為 “Juntashuwanno”,得到舅舅的提 拔拜 龍婆素

(Luang Por Suk)為師學法術,在這時期也經常跟隨 舅舅到深山修行。

后來由于父親過世,沒人照顧母親,所以在次還俗, 此時也已經有很多弟子開始信他了

還俗后,他還結婚生子。 有一晚上,“意”帶著長槍到野外打獵,當槍口瞄準小兔時,

月光明亮的讓他 清楚的看到小兔正在流淚,這讓他起慈悲心,收回長槍空手回家。

到家后, 他跟妻子說起這事,妻子說“很多東西想吃,可以去買,

何必傷它性命?” 后來,意就跟妻子說起自己的意愿,希望能再次出家。

由于孩子們都長大了, 妻子并無異議,很贊同“意”出家,自己也能跟孩子們一起過生活,

所以這 就是 “意”第三次出家。 說起龍婆意,當然不能不說龍婆制造的

“陽神” 或 Parakit。 現在納蘭撒就寫一段非常出名的事件跟大家分享。