พระเครื่องวัดประสาทบุญญาวาส(ภาษาไทย)
สุดยอดพระเครื่องวัดประสาทบุญญาวาส 
พระดีอนาคตไกล ที่น่าจับตามอง
      ประวัติความเป็นมาของวัดประสาทบุญญาวาสนั้น สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๖ ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ ขณะนั้นมีชื่อวัด
ว่า วัดคลองสามแสน เพราะอยู่ใกล้คลองสามแสน (ปัจจุบันเรียกคลองสามเสน) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดขวิดเพราะมีต้นมะขวิดอยู่ด้าน
ข้างอุโบสถขนาดใหญ่ ๒ ต้น เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๙๘ ก็เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่เสนาสนะหลายหลังพร้อมทั้งอุโบสถ์หลังเดิมก็ถูกไฟไหม้
เสียหายไปส่วนหนึ่ง เจ้าอาวาสในขณะนั้นคือ พระครูสมุห์อำพล พลวฑฺฒโน จึงมีความคิดที่จะสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นมาแทนที่หลัง
เดิมซึ่งความคิดนี้ได้สัมพันธ์ และเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ทวดกล่าวคือในคืนหนึ่งพระอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ได้นิมิตถึงหลวงปู่ทวด
โดยท่านบอกให้พระอาจารย์ทิมไปช่วยบูรณะวัดที่ กรุงเทพฯ เนื่องจากถูกไฟไหม้ พระอาจารย์ทิมจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อสืบข่าว
ว่านิมิตดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ โดยเข้าพักที่วัดเอี่ยมวรนุช และได้รับการยืนยันว่ามีวัดที่ชื่อวัดประสาทบุญญาวาสถูกไฟไหม้จริงวันรุ่งขึ้น
ท่านจึงเดินทางไปที่วัดประสาทบุญญาวาส เพื่อปรึกษาหารือกับพระครูสมุห์อำพลในการบูรณะพระอุโบสถวัดประสาทบุญญาวาสขึ้นมาใหม่
อีกครั้ง ซึ่งก็ตรงกับใจของพระครูสมุห์อำพลพอดี และมีความคิดเห็นตรงกันว่าน่าจะสร้างวัตถุมงคลขึ้นมาเพื่อเป็นของสมนาคุณแก่ผู้ที่มา
ทำบุญ ดังนั้นทั้งสองท่านจึงได้แบ่งงานกันทำ โดยทั้งสองท่านต่างก็ไปรวบรวมมวลสาร และนิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่ทั้งสองท่านพอจะไป
นิมนต์มาได้
      ต่อมาพระอาจารย์ทิมเจ้าอาวาสวัดช้างให้ ได้นำพระหลวงปู่ทวดรุ่นหลังตัวหนังสือปี พ.ศ.๒๕๐๕มามอบให้เพื่อถอดเป็นแม่พิมพ์และ
มอบมวลสารพระหลวงปู่ทวดรุ่นแรกปี ๒๔๙๗ พร้อมว่านแร่ดินกากยายักษ์มาให้วัดประสาทบุญญาวาส เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการสร้าง
พระหลวงปู่ทวดอีกด้วย การสร้างพระผงของสำนักนี้ท่านเจ้าอาวาสได้พยายามเสาะหาผงวิเศษจากหลายๆพรtอาจารย์รวมทั้งชิ้นส่วน
พระเครื่องแตกหักเก่าๆ ทั้งพระกรุ และพระเกจิอาจารย์นับไม่ถ้วน โดยเฉพาะที่สำคัญที่สุดคือ ชิ้นส่วนแตกหักของ "สมเด็จบางขุนพรหม
กรุใหม่" ที่ทางวัดเปิดกรุ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ โดยพระครูบริหารคุณวัตร เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรสขณะนั้นได้มอบพระสมเด็จบางขุนพรหม
ที่แตกหักชำรุด ซึ่งมีจำนวนมากมายหลายลังเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระหลวงปู่ทวดเนื้อผง และพระอีกหลายๆ พิมพ์ก็ล้วนมีชิ้น
ส่วนแตกหักของพระสมเด็จบางขุนพรหมผสมอยู่มากบ้างน้อยบ้างตามแต่สัดส่วนในการผสมมวลสารในแต่ละครั้ง
ทั้งยังมีมงลสารอื่นๆ เช่น ผงว่าน และมวลสารศักดิ์สิทธิ์ของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังต่าง ๆ มากมายทั่วประเทศ โดยบดรวมกันนำมาสร้างเป็น พระเครื่องวัดประสาท โดยมวลสารศักดิ์สิทธิ์นึ้น ก็เช่น
ชนวนหล่อพระกริ่งของ อ.ไสว วัดราชนัดดา
-ผงการสร้างพระเครื่อง 25 ศตวรรษ
-ผงหลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน
-ผงสร้างพระเครื่อง หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ
-ผงหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์
-ผงสร้าง พระเครื่อง วัดไร่ขิง
-ผงหักพระกรุลำพูน
-ผงหลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
-ผงพระว่านจำปาศักดิ์
 
 จุดประสงค์ในการสร้างพระเมื่อพ.ศ.๒๕๐๖ เพื่อนำเงินมาบูรณะโบสถ์ และเสนาสนะที่ถูกเพลิงเผาผลาญ และเพื่อแจกเป็นของสมนา
คุณให้แก่ผู้ที่ปิดทองพระพุทธบาทจำลองที่หล่อขึ้นใหม่อีกด้วยในด้านพิธีกรรมและการปลุกเสกพระของวัดประสาทบุญญาวาสนั้นมีการจัด
อย่างยิ่งใหญ่มาก โดยพระคณาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสกตามใบฝอยที่แจ้งไว้ในซองบรรจุวัตถุมงคล เพื่อเป็นของสมนาคุณของวัดประสาท
บุญญาวาสกล่าวว่าพิธีพุทธาภิเษก ๖-๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๖ มีคณาจารย์ร่วมปลุกเสกถึง ๒๓๔ รูปจนนั่งภายในพระอุโบสถไม่หมด ต้องให้
นั่งข้างนอกพระอุโบสถแล้วโยงสายสิญจน์ออกมา ซึ่งพระอาจารย์ท่านใดเก่งๆ ในสมัยนั้นก็จะนิมนต์มาหมด พิธีในครั้งนั้นจึงจัดว่าเป็นพิธี
ปลุกเสกวัตถุมงคลที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดนับตั้งแต่พิธีปลุกเสกพระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษเป็นต้นมา

รายนามพระคณาจารย์ที่เข้าร่วมปลุกเสกและรวบรวมมาได้มีดังนี้
- พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี
- หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา จ.อยุธยา
- หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม
- หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ จ.อยุธยา
- หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ท่าพระ จ.กรุงเทพ
- หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง จ.อยุธยา
- หลวงปู่นาค วัดระฆัง จ.กรุงเทพ
- หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี
- หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
- หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
- หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท
- หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
- หลวงปู่ดู่ วัดสะแก จ.อยุธยา
- หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ จ.ปทุมธานี
- หลวงปู่สี วัดสะแก จ.อยุธยา
- หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
- หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี
-หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
- หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร จ.กรุงเทพ
- หลวงพ่อพรหม วัดบิง จ.โคราช
- หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิต จ.กรุงเทพ
- หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
- หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี
- หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
- หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
- หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด
- หลวงพ่อทบ วัดชนแดน จ.เพชรบูรณ์
- หลวงปู่เหรียญ วัดบางระหงส์ จ.นนทบุรี
- หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา
- หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร
- หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร
- หลวงพ่อเหมือน วัดกำแพง จ.ชลบุรี
- หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม
- หลวงพ่อนิล วัดครบุรี จ.โคราช
- เจ้าคุณผล วัดหนัง บางขุนเทียน จ.กรุงเทพ
- พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช
- หลวงพ่อหวล วัดพิกุล จ.กรุงเทพ
- หลวงพ่อโอน วัดโคกเดื่อ จ.นครสวรรค์
- หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ จ.อยุธยา
- หลวงพ่อน้อย วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์
- หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
- หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี
- หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี
- หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ จ.ระยอง
- หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง จ.อยุธยา
- หลวงปู่เขียว วัดหรงบน จ.นครศรีธรรมราช
- หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี
- หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ จ.พัทลุง
- หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร
- หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี
- หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม จ.สมุทรสาคร
- อาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
- หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง จ.กรุงเทพ
- พ่อท่านแดง วัดศรีมหาโพธิ์ จ.ปัตตานี
- หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรี จ.สิงห์บุรี
- หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์
- หลวงปู่เขียว วัดหรงบน
- หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม จ.ชลบุรี
- หลวงปู่หิน วัดระฆัง จ.กรุงเทพ
- หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี
- หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิษฐ์ จ.กรุงเทพ
- หลวงพ่อมิ่ง วัดกก บางขุนเทียน จ.กรุงเทพ
- หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน จ.อยุธยา
- หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์ จ.ราชบุรี
- หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ จ.อยุธยา
- อาจารย์ไสว วัดราชนัดดา จ.กรุงเทพ
- หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี
- หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี
- หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด จ.อยุธยา
- หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก จ.สุพรรณบุรี
    และอีกมากมายหลายรูปที่เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีอาคมเข้มขลัง ที่ท่านพระสมุห์อำพลได้นิมนต์มาร่วมเสกนับได้ว่าพระของวัดประสาท
เป็นพระเครื่องที่มีความสมบูรณ์แบบทั้ง เจตนาการสร้าง  มวลสารที่ใช้  ผู้รวมปลุกเสก ตั้งแต่นี้ไปคงไม่มีพระเครื่องจากที่ใดที่สามารถรวบรวม มวลสารสำคัญ และ คณาจารย์เกจิชื่อดังของเมืองไทย ได้มากขนาดนี้แน่นอน
และนับวันพระเครื่องวัดประสาทบุญญาวาส ยิ่งเป็นที่ต้องการของนักสะสมและผู้ที่หาพระดีๆห้อยบูชา ราคาเช่าหายังไม่สูงมาก แต่นานวันเข้า ราคาย่อมต้องขยับขึ้นเป็นแน่ เพราะด้วยจำนวนที่สร้างไม่เยอะ แต่ความต้องการมากขึ้น อนาคตจะหาพบพระเครื่องวัดประสาท
ได้ยากเป็นแน่ ยิ่งพระสวยๆ คงยากที่จะได้ครอบครอง