๑. บุคคลภายนอกอาจเข้าไปทำเสียงรบกวนเป็นการทำลายสมาธิของผู้ที่กำลังปฏิบัติกิจภาวนา จะเกิดบาปติดตัวผู้นั้นไปโดยมิได้ตั้งใจ
๒. วิชชาธรรมกายนั้นเป็นวิชชาที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ถ้าผู้ที่ยังไม่รู้ไม่เห็น ไม่เข้าใจยังปฏิบัติไม่เป็นแล้วไปได้ยินได้ฟังเข้าก็จะทำให้เกิดวิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ทำให้เกิดความคิดสับสนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนต่อวิชชา หลวงปู่ท่านทราบดีว่าอันตรายจะเกิดแก่บุคคลที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจดีพอ
๓. หลวงปู่ท่านไม่ต้องการให้บุคคลภายนอกเข้าไปชวนพวกที่ได้ธรรมกายพูดคุยด้วยเรื่องไร้สาระ ท่านบอกว่าเสียเวลาโดยใช่เหตุ
เมื่อหลวงปู่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ท่านได้ดำเนินการก่อตั้งโรงครัวขึ้นเพี่อถวายอาหารแก่พระภิกษุสามเณรเพราะ สมัยที่ท่านเคยอยู่วัดพระเชตุพนฯ และประสบความลำบากในเรื่องอาหารบิณฑบาต ท่านจึงตั้งมโนปณิธานไว้ว่า เมื่อมีโอกาสจะตั้งโรงครัวเลี้ยงอาหารพระภิกษุสามเณร เพื่อจะได้มีเวลาและโอกาสในการศึกษาพระปริยัติธรรมและปฏิบัติธรรมได้เต็ม ที่ และเป็นการสะดวกแก่ทายกทายิกาที่ต้องการจะทำบุญถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุ สามเณรทั้งวัดด้วย เพียงแต่แสดงความประสงค์ที่จะเป็นเจ้าภาพและนำปัจจัยมามอบให้แก่ไวยาวัจกร ทางวัดจะมีแม่ครัวหุงหาอาหารให้เสร็จเรียบร้อยทั้งมื้อเช้าและมื้อเพล เจ้าภาพเพียงแต่มาประเคนภัตตาหารเท่านั้น
หลวงปู่ได้ชี้แจงถึง
อานิสงส์ของ การถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสามเณรว่าจะได้บุญยิ่งใหญ่ไพศาลเพราะพระสงฆ์เป็น เนื้อนาบุญ พระสงฆ์เป็นประมุข เป็นประธานของผู้ต้องการบำเพ็ญบุญ ถ้าต้องการบุญก็ให้ถวายในหมู่สงฆ์ ไม่ควรเจาะจงพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ให้ทำใจให้เป็นกลาง หลวงปู่ท่านเน้นว่า เป็นทายกต้องฉลาด โง่ไม่ได้ เพราะถ้าถวายเจาะจงเสียแล้วผลบุญก็ลดน้อยลงไปคนฉลาดต้องถวายให้เป็นกลาง จะได้ผลบุญยิ่งใหญ่ไพศาลที่เรียกว่า สังฆทาน และได้ชื่อว่าวางหลักพระพุทธศาสนา เพราะศาสนาของพระบรมศาสดา จะดำรงอยู่ได้ก็เพราะอาศัยความเป็นกลาง ภิกษุสามเณรก็ต้องประพฤติในพระธรรมวินัยให้เป็นกลาง ปฏิบัติให้เป็นกลาง ไม่เข้าข้างตน ไม่เข้าข้างบุคคลอื่น อุบาสก อุบาสิกาบริจาคทานในพระพุทธศาสนาให้เป็นกลาง ไม่ค่อนข้างตน หมู่ตน พวกตน อย่างนี้ได้ชื่อว่าบริจาคถูกทางสงฆ์ ถูกเป้าหมายของบุญ
หลวงปู่ท่านนำกล่าวถวายสังฆทานว่า “ทานที่ท่านถวายให้ให้เป็นกลาง มิให้เจาะจงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด มีใจความตามภาษาบาลีว่า “กาเล ททนฺติ สปญฺญา วทญฺญู วีตมจฺฉรา ฯลฯ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินฺนติ” ทายกทายิกาทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยปัญญา ปราศจากความตระหนี่ เลื่อมใสแล้วในพระอริยบุคคล ในพระอริยสงฆ์ เป็นผู้เลื่อมใสแล้วในพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้ตรงคงที่ ถวายทาน ทำให้เป็นทานที่ตนถวายแล้วโดยกาลในสมัยทักขิณาทานของทายกนั้นย่อมเป็นคุณ ชาติ มีผลไพบูลย์ดุจน้ำเต็มเปี่ยมในห้วงมหาสมุทร เพราะบริจาคทานในเขตบุญ
หลวงปู่ท่านได้แนะนำศิษย์ “ให้เป็นบุคคลที่ตนเองก็ชอบทำบุญและชักชวนให้ผู้อื่นทำด้วยทั้งกำลังกายและ กำลังทรัพย์ ให้รู้จักเลือกผู้ที่จะทำบุญด้วย ให้ทุกคนพยายามรักษามนุษย์สมบัติ ท่านอธิบายว่าคนเรานั้นจะอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้ ต้องมีบิดามารดา ญาติพี่น้อง สามีภรรยา บุตร บริวาร อย่างที่เรามักเรียกกันว่า “มีพรรคมีพวก” คนที่มีพรรคพวกดีนั้นต้องประกอบกรรมดีร่วมกันมาแล้ว ท่านจึงสอนว่าถ้าเห็นคนดีๆ เขาบริจาคทานกันละก็ให้พยายามไปร่วมกับเขา ไม่จำเป็นต้องร่วมด้วยเงินก็ได้ เพราะคนบางคนเขามีทรัพย์สินเงินทองเหลือเฟืออยู่แล้ว เขาต้องการให้มีคนมาช่วยเท่านั้น เราก็ไปช่วยด้วยแรง เพื่อว่า
ภพชาติหน้า จะได้มีพรรคพวกที่เป็นคนดี การที่จะมีมนุษย์สมบัติดีนั้นก็ด้วยสาเหตุ ๒ ประการ คือ ปุพฺเพกตปุญฺญตา การร่วมบุญกันมาในอดีตชาติ และการร่วมบุญในภพชาติปัจจุบัน
สมัยแรกที่ก่อตั้งโรงครัว หลวงปู่ท่านใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวเป็นค่าใช้จ่าย และมีโยมพี่สาวของท่านนำข้าวสารและอาหารแห้งมาถวายเป็นประจำ ถ้าวันใดไม่มีผู้ใดมารับเป็นเจ้าภาพ หลวงปู่ก็ใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวเป็นค่าภัตตาหารเลี้ยงพระภิกษุสามเณรแทน ซึ่งเป็นวัดเดียวในประเทศไทยที่พระภิกษุไม่ต้องออกบิณฑบาต ทำให้ผู้ที่ยังขาดความเข้าใจในพระวินัยอย่างแจ่มแจ้ง ประณามว่าพระภิกษุที่วัดปากน้ำย่อหย่อนในพระธรรมวินัยและขาดนิสัยอย่างหนึ่ง ในนิสัย ๔ อย่าง อันเป็นหลักปฏิบัติของบรรพชิต คือ การฉันอาหารบิณฑบาต ส่วนผู้ที่เข้าใจในคำสอนอย่างแจ่มชัดแล้วจะไม่กล่าวอย่างนั้นเลย เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตไว้ว่า พระภิกษุสามเณรพึงงดเว้นถือนิสัยในการออกบิณฑบาตได้เมื่อพระภิกษุสามเณรมี อดิเรกลาภเกิดขึ้น เช่น มีผู้ศรัทธานิมนต์ฉันจังหันหรือมีทายกทายิกาจัดถวายในวันอุโบสถ ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ นั้นมีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาประมาณ ๑๕๐ รูป และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ จนถึง ๖๐๐ รูปเศษ ถึงกระนั้นหลวงปู่ท่านก็ไม่เคยวิตกกังวลกับภาระนี้ ท่านเคยพูดเสมอว่า “กินคนเดียวไม่พอกิน กินมากคนกินไม่หมด”ท่านมุ่งมั่นจะบำเพ็ญบารมีอย่างจริงจังท่านเคยพูดถึง อานิสงส์ของการบำเพ็ญทานไว้ว่า “ทานนั่นแหละจะเป็นชนกกรรมนำไปเกิดในสกุลที่มั่งมีมาก เมื่อ
ให้ทานแล้ว ผู้ยากขัดสนก็สมบูรณ์ อ้ายความสมบูรณ์ที่ให้แก่เขาน่ะกลับมาเป็นของตัวมากน้อยเท่าใดกลับมาเป็นของ ตัวหมด ทานนี่แหละเป็นข้อสำคัญนัก เพราะฉะนั้นบัดนี้วัดปากน้ำมีพระภิกษุสามเณรมารวมกันอยู่มากก็เพราะอาศัย เจ้าอาวาส บริจาคทานบริจาคมานาน ๓๗ ปีแล้ว”
๖. การพัฒนาวัดของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ
๑. การปกครอง
ท่านบริหารงาน โดยใช้หลักการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับพระภิกษุสามเณร ตลอดจนผู้ที่อยู่ในอุปการะ ดุจพ่อปกครองบุตรชายหญิงอันเกิดจากอกของตนเอง ให้ความเสมอภาคโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ใครผิดก็ว่าไปตามผิด ใครถูกก็ยกย่องชมเชย ใครต้องการความช่วยเหลือจากท่าน ท่านก็ช่วยอุปการะปัดเป่าให้คลายทุกข์ด้วยความเมตตาปราณี แม้แต่ผู้ที่ออกจากความปกครองของท่านไปแล้ว ท่านยังคอยติดตามถามข่าว ด้วยความเป็นห่วงเกรงว่าจะ
หลงลืมโอวาท ที่ดีงามที่เคยกรุณาสั่งสอนไว้ ความเอื้ออาทรเหล่านี้ทำให้บรรดาลูกศิษย์ที่เคยอยู่ในความปกครองของท่าน พากันเรียกท่านจนติดปากว่า “
หลวงพ่อ”
๒. การศึกษา
เมื่อท่านมาเป็นเจ้าอาวาสทำการปกครองวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระภิกษุสามเณรอยู่ในลักษณะย่อหย่อนต่อพระธรรมวินัยและไร้การศึกษาเสียเป็น ส่วนมาก ในฐานะที่ท่านเป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ผู้ที่อยู่ในการปกครองของท่านจึงต้องเลือกเรียนสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งอย่าง จริงๆ ใครไม่ศึกษาไม่ปฏิบัติ ก็ให้ทำหน้าที่บริหารงานในวัด
๒.๑ แผนกคันถธุระ
ท่านได้ตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นในวัด โดยจัดหาทุนเอง และได้จัดการศึกษานักธรรมและบาลีขึ้น เมื่อมีผู้มาศึกษามาก ในที่สุดก็ได้รับการยกฐานะให้เป็นสำนักเรียนโดยตรง และสำนักของวัดปากน้ำ ภาษีเจริญก็ได้เจริญขึ้นเรื่อยๆ เพราะท่านคอยส่งเสริมเอาใจใส่เรื่องการศึกษาของพระภิกษุ-สามเณรอยู่เสมอ พระภิกษุ-สามเณรที่สอบผ่านบาลี ท่านจะกล่าวชมเชยทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทั้งยังหารางวัลให้เป็นกำลังใจอีกด้วย
สำหรับการแสดงพระธรรมเทศนาทางปริยัตินั้นท่านจะเป็นผู้แสดงเองในวันอาทิตย์ และวันธรรมสวนะที่พระอุโบสถเป็นประจำมิได้ขาด รวมทั้งวันอื่น ๆ ที่มีเจ้าภาพมาถวายภัตตาหารแล้วอาราธนาให้ท่านแสดงธรรม ท่านจะสอนให้พุทธศาสนิกชนเลื่อมใสในการบำเพ็ญทาน การรักษาศีลและการเจริญภาวนา โดยยกชาดกและเรื่องจากธรรมบทมาเป็นอุทาหรณ์ ลงท้ายด้วยการสอนเจริญภาวนา ทำให้ผู้ฟังมีความเข้าใจเรื่องราวในพระพุทธศาสนาอย่างละเอียดลึกซึ้ง และได้รับความสนุกสนานด้วย
การแสดงธรรมท่านยังได้จัดให้พระภิกษุสามเณรหัดทำการเทศนาเดี่ยวบ้าง หัดเทศน์ปุจฉาวิสัชนา ๒ – ๓ ธรรมาสน์บ้าง แล้วจัดให้ทำการแสดงพระธรรมเทศนา ณ ศาลาการเปรียญตลอดฤดูการ
เข้าพรรษา จากการฝึกฝนนี้ทำให้พระภิกษุสามเณรของวัดปากน้ำหลายรูปได้เป็นพระธรรมกถึกและได้รับการอาราธนาให้ไปแสดงพระธรรมเทศนานอกสำนักอยู่เสมอๆ
๒.๒ แผนกวิปัสสนาธุระ
เป็นวิชชาที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้ศึกษาค้นคว้ามาตั้งแต่เริ่มอุปสมบทวัน แรกเมื่ออายุ ๒๒ ปี เป็นต้นมาจนกระทั่งอายุ ๗๐ ปี ขณะที่ท่านเปิดสอนปริยัติ ท่านก็สอนปฏิบัติควบคู่ไปด้วย มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์มาปฏิบัติธรรมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้วัดปากน้ำในครั้งนั้นมีชื่อเสียงไม่เฉพาะเพียงแต่ด้านปริยัติธรรมเท่า นั้น ในด้านวิปัสสนาก็มีชื่อเสียงมากเช่นกัน เพราะมีผู้มาประพฤติปฏิบัติธรรมและเข้าถึงธรรมกายเป็นจำนวนมาก
การ แสดงพระธรรมเทศนาทางปฏิบัติเฉพาะในวัดนั้นพระเดชพระคุณท่านจะเทศน์สอนทุกวัน พฤหัสบดี ซึ่งจะมีพระภิกษุสามเณรจากวัดอื่น ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกามาศึกษากันอย่างคับคั่ง ซึ่งท่านถือเป็นวัตรปฏิบัติของท่านไม่ยอมขาดเลย เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยจริงๆ จึงจะยอมขาด เท่าที่ปรากฏมาท่านเคยขาดกิจกรรมนี้ไม่เกิน ๓ ครั้ง
ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์
- ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสมณธรรมสมาทาน
- ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระภาวนาโกศลเถร ถือพัดยอดพื้นขาวอันเป็นตำแหน่งวิปัสสนาธุระ
- ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้รับพระราชทานพัดยศเทียบเปรียญ
- ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระมงคลราชมุนี
- ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระมงคลเทพมุนี
อาพาธและมรณภาพ
ก่อนที่พระเดชพระคุณหลวงปู่จะมรณภาพประมาณ ๕ ปี ท่านได้เรียกประชุมศิษย์ทั้งใน และนอกวัดเป็นกรณีพิเศษที่ศาลาการเปรียญ เพื่อแจ้งให้ทุกคนทราบว่าท่านจะถึงกาลมรณภาพในอีก ๕ ปีข้างหน้า กิจการใดที่ท่านได้ดำเนินไว้แล้ว ขอให้ช่วยกันทำกิจการนั้น ๆ อย่าทอดทิ้ง ท่านได้ชี้แจงโครงการพัฒนาวัดปากน้ำให้คณะศิษย์ช่วยกันดำเนินต่อไปให้สำเร็จ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเผยแผ่วิชชาธรรมกาย ท่านเห็นเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ท่านบอก ว่า ต่อไปวัดปากน้ำจะเจริญรุ่งเรืองใหญ่โต มีลูกศิษย์หลายคนได้อาราธนาขอไม่ให้ท่านมรณภาพ ท่านตอบว่าไม่ได้ อีก ๕ ปี ท่านจะไม่อยู่แน่ ๆ แล้ว
นับตั้งแต่หลวงปู่วัดปากน้ำดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำเป็นต้นมา ท่านต้องรับภาระหนักโดยตลอด ทั้งด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม การสอนและเผยแผ่วิชชาธรรมกาย การจัดตั้งโรงครัว การบูรณปฏิสังขรณ์ เสนาสนะต่างๆ รวมทั้งช่วยเหลือผู้คนที่มาขอพึ่งบารมีของท่าน เพื่อบรรเทาทุกข์ยาก ท่านได้ทุ่มเทชีวิตเพื่องานพระพุทธศาสนา จนมีเวลาพักผ่อนน้อยมาก ทำให้สุขภาพทางกายทรุดโทรม แต่ทางด้านจิตใจยังคงแข็งแกร่งเช่นเดิม ท่านไม่ยอมทอดทิ้งธุระที่เคยปฏิบัติเป็นกิจวัตร ยังคงออกเทศน์สอนนั่งภาวนาแจกพระของขวัญตามปกติ ท่านไม่ชอบทำตนให้เป็นภาระของผู้อื่น แม้เวลาอาพาธก็ไม่ยอมให้ใครพยุงลุกนั่ง เรื่องภัตตาหารก็ไม่จู้จี้ ไม่เรียกร้องในเรื่องการขบฉัน ใครทำมาถวายอย่างไรก็ฉันอย่างนั้น
เมื่อท่านอาพาธหนักได้เรียกศิษย์ให้ดำเนินการสอนเผยแผ่วิชชาธรรมกายต่อไป และสั่งว่า เมื่อท่านมรณภาพแล้ว ให้เก็บสรีระของท่านไว้ไม่ให้เผา
พระเดชพระคุณหลวงปู่ ท่านถึงแก่ มรณภาพอย่างสงบสมดังเช่นจอมทัพธรรม ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒ เวลา ๑๕.๕๐ น. สิริรวมอายุได้ ๗๔ ปี ๓ เดือน ๒๔ วัน มีอายุพรรษาได้ ๕๓ พรรษา
ลำดับเหตุการณ์สำคัญในสมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำ
ปี พ.ศ.
|
อายุ
|
เหตุการณ์ในชีวิตหลวงปู่
|
เหตุการณ์บ้านเมือง
|
๒๔๒๗
|
๐
|
หลวงปู่เกิด
|
- |
๒๔๓๖
|
๙
|
เรียนหนังสือกับพระน้าชาย
|
- |
๒๔๔๑ |
๑๔ |
บิดาถึงแก่กรรม เริ่มเป็นพ่อค้าข้าว |
- |
๒๔๔๖ |
๑๙ |
อธิษฐานขอบวชตลอดชีวิต |
- |
๒๔๔๙ |
๒๒ |
อุปสมบท |
- |
๒๔๖๐ |
๓๓ |
บรรลุธรรม |
ไทยร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ |
๒๔๖๑ |
๓๔ |
มาอยู่วัดปากน้ำ |
สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๑ |
๒๔๗๔ |
๔๗ |
ตั้งโรงงานทำวิชชา |
- |
๒๔๘๐ |
๕๓ |
คุณยายพบหลวงปู่วัดปากน้ำ |
เริ่มสงครามโลกครั้งที่ ๒ (๒๔๘๒) |
๒๔๘๗ |
๖๐ |
พระราชภาวนาวิสุทธิ์เกิด |
สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ (๒๔๘๘) |
๒๔๙๓ |
๖๖ |
ทำพระของขวัญรุ่นที่ ๑, ตั้งโรงเรียน |
เริ่มสงครามเกาหลี |
๒๔๙๔ |
๖๗ |
ทำพระของขวัญรุ่นที่ ๒ |
- |
๒๔๙๖ |
๖๙ |
ส่งพระไปเผยแผ่ที่อังกฤษ |
- |
๒๔๙๙ |
๗๒ |
ทำพระของขวัญรุ่นที่ ๓ |
สิ้นสุดสงครามเกาหลี |
๒๕๐๒ |
๗๔ |
มรณภาพ |
- |