พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ
ประวัติพ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ
พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ หรือ พระครูอนุศาสน์กิจจาทร วัดอรัญวาสิการาม พระเกจิอาจารย์ดินแดน"ลังกาสุกะ" พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเงินทอง กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจชาวบ้านแถบนั้นมักเรียกท่านว่า ตาหลวง
ประวัติพ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
ปัจจุบัน พระครูอนุศาสน์กิจจาทร หรือพ่อท่านเขียว กิตติคุโณ สิริอายุ 80 พรรษา 60
หรือ พระครูอนุศาสน์กิจจาทร วัดอรัญวาสิการาม
ท่านเกิด: สิงหาคม พ.ศ.2472 ณ.ตำบลหน้าถ้ำ อ.เมืองจ.ยะลา
โยมบิดา : ชื่อนายทอง เพ็ชรภักดี
โยมมารดา : ชื่อ นางกิ๊ม นวลศรี
ชีวิตวัยเด็ก : หลังจากจบ ป.4 ต้องออกจากบ้านหางานทำเลี้ยงแม่และน้องๆ เพราะบิดาท่านได้ถึงแก่กรรม
อุปสมบท : ณ พัทธสีมา วัดบุพนิมิตร(วัดนางโอ) อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี
พระอุปัชฌาย์ : พระครูมนูญสมณการ วัดพลานุภาพ
ศึกษาธรรม : ศึกษาพระปริยัติธรรมและนักธรรม รวมทั้งในด้านการสวดมนต์พิธีต่างๆ โดยสามารถสวดพระปาฏิโมกข์ได้ตั้งแต่ ในพรรษาที่5 นอกจากนี้ยังศึกษาสรรพวิชาจากฆราวาสที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ อีกหลายท่าน
ผ้ายันต์รับทรัพย์ หรือ ผ้ายันต์เพิ่มทรัพย์ พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ
พระเครื่องหลวงปู่เขียว วัตถุมงคลยอดนิยม : ผ้ายันต์รับทรัพย์ ยันต์รับทรัพย์ และ ยันต์เพิ่มทรัพย์,ขุนช้างเจ้าทรัพย์,พระราหู,ปลัดขิก
พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ ถือกำเนิดในครอบครัวชาวนาในจังหวัดยะลา เป็นบุตรคนที่ 3 จากจำนวนทั้งหมด 7 คน ดังนี้
1.นาย เชือน เพ็ชรภักดี ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
2.นาย แก้ว เพ็ชรภักดี ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
3.พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ ( นามเดิม เขียว เพ็ชรภักดี )
4.นายชื่น เพ็ชรภักดี ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
5.นายแจ๊ก เพ็ชรภักดี ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
6.นายสมใจ เพ็ชรภักดี( ถึงแก่กรรมแล้ว )
7.นาง สาว เพ็ชรภักดี
เหรียญพ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ รุ่นแรก เนื้อทองคำ
ช่วงชีวิตในวัยเด็กของ พ่อท่านเขียว ท่านก็เหมือนเด็กชาวบ้านในต่างจังหวัดทั่วไป หลังจากเรียนจบ ป.4 บิดาได้ถึงแก่กรรม ท่านจึงต้องออกมาทำงานช่วยครอบครัว เพื่อเลี้ยงแม่และน้องๆ ซึ่งในเวลานั้นท่านก็สู้อดทนรับจ้างทำงานทุกอย่าง จนกระทั่งอายุได้ 20 ปี จึงตัดสินใจบวช ตามประเพณีนิยม ณ.วัดนางโอ (ปัจจุบันคือวัดบุพนิมิตร) อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี
พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2492 ณ.พัทธสีมา วัดนางโอ
โดยมี พระครูมนูญสมณการ วัดพลานุภาพ เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการแดง ธมฺมโชโต วัดนาประดู่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการทอง จนฺทโชโต วัดภมรคติวัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
พระอธิการดำ ติสสโร เจ้าอาวาส วัดนางโอในขณะนั้น เป็นประธานสงฆ์ พระสงฆ์หัตถบาส เป็นพระอาจารย์ ผู้ที่ประสิทธิ์ประศาสน์ วิชาความรู้ ให้พ่อท่านเขียวมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นฆราวาส
หลังจากครองผ้าเหลือง พ่อท่านเขียว ได้จำพรรษาอยู่วัดนางโอ โดยท่านได้ใช้เวลาว่างทั้งหมด เล่าเรียนการสวดมนต์ต่างๆ และรวมถึงการสวดภาณยักษ์ แบบฉบับของภาคใต้ กระทั่งพรรษา 2 ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดสุนทรบัญชาราม อ.รามัญ จ.ยะลา ครั้งถึงพรรษาที่ 3 พ่อท่านเขียว ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดนางโออีกครั้ง ได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆ กับ “ตาเลี่ยม”ฆราวาสที่เชี่ยวชาญ ด้านวิปัสสนา รวมทั้งศึกษาสรรพวิชาต่างๆจากผู้เรืองพระเวทย์วิทยาคมอีกหลายท่าน
นอกจากนี้ พ่อท่านเขียวยังได้ศึกษาในทางธรรม ท่านปฏิบัติเคร่งครัด ศึกษาด้านปริยัติธรรมบาลีไวยากรณ์และนักธรรม รวมถึงการสวดมนต์ สาธยายธรรม ด้วยเหตุนี้เอง พ่อท่านเขียวท่านจึงสามารถ สวดปาฏิโมกข์ได้ตั้งแต่ในพรรษาที่ 5 พ่อท่านเขียว สอบได้นักธรรมโทและต่อมา ท่านได้รับตำแหน่ง รักษาการเจ้าอาวาส วัดนางโอ จนกระทั่งได้เป็นเจ้าอาวาสในลำดับต่อมา ในระหว่างนี้ท่านเองเป็นสหธรรมมิกกับ “พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ” ด้วยความที่วัดอยู่ใกล้กัน ท่านทั้งสองจึงได้เคยร่วมสังฆกรรม สนทนาธรรม และร่วมในพิธีกรรมต่างๆด้วยกันเสมอ
โดยเฉพาะเมื่อคราวที่ท่านอาจารย์ ทิม วัดช้างให้ สร้าง พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นปี2497 เพื่อแจกแก่ผู้ที่ร่วมสร้างพระอุโบสถ วัดช้างให้นั้น พ่อท่านเขียว เป็นผู้หนึ่งที่คลุกเนื้อผสมว่าน และร่วมอยู่ในพิธีกรรมเจริญพุทธมนต์ ในระหว่างที่ท่านอาจารย์ทิม อัญเชิญดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่ทวด เพื่อปลุกเสกพระเครื่องเนื้อว่านในคราวปี2497 และร่วมพิธีกรรมปลุกเสกอีก หลายวาระจนเมื่ออาจารย์ทิมท่านมรณภาพแล้ว ยังมีพิธีกรรมที่สำคัญอีก 1 วาระ คือปลุกเสกหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี 2524 ปัจจุบันเป็นที่เสาะหากันมาก เพราะมีประสบการณ์คุ้มภยันตราย แคล้วคลาดปลอดภัยแก่ผู้ที่นับถือ
พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ ไปปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆ
นอกจากนี้ พ่อท่านเขียวยังได้รับนิมนต์ ไปปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆ ในหลายพิธีตลอดมาทั้งไกลและใกล้จนถึงปัจจุบัน นับว่าพ่อท่านเขียว เป็นพระเกจิสำคัญถือเป็นเพชรอีกรูปหนึ่ง แห่งเมืองใต้ เลยทีเดียว เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2500 พ่อท่านเขียวได้ตรวจสอบธรณีสงฆ์รอบวัดนางโอ พบการรุกล้ำที่วัดของชาวบ้านละแวกวัด ทำให้ชาวบ้านเหล่านั้นไม่พอใจ กระทบกระทั่งกันหลายวาระ ในที่สุดหลวงพ่อเขียว จึงตัดสินใจ ออกจากวัดไปจำพรรษา ที่วัดภมรคติวัน และที่วัดนี้ก็มีปัญหาเดียวกันกับวัดนางโอ ท่านจึงย้ายวัดไปจำพรรษาที่วัดนาประดู่อีกครั้ง
และในระหว่างนี้ ท่านธีร์เจ้าอาวาส วัดห้วยเงาะ ในเวลานั้นจึงได้มานิมนต์พ่อท่านเขียวไปอยู่ที่วัดห้วยเงาะ เนื่องด้วยพรรษาท่านมากจะได้ดูแลและไม่ต้องพบกับภาระเหนื่อยหนักอีก พ่อท่านเขียวท่านเป็น พระสงฆ์ที่มัธยัสถ์อดออมและรักสันโดษ ท่านชอบการอ่านหมั่นศึกษาหาความรู้ในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านกฏหมายบ้าน เมือง การเกษตรกรรม โหราศาสตร์ สมุนไพรกลางบ้าน รวมถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในอันที่จะนำไปสงเคราะห์ผู้อื่นได้ พ่อท่านมีเมตตาสูงกับเหล่าศิษย์ และผู้ที่ไปขอให้ท่านเสกเป่าบรรเทาทุกข์ แก้ไขสิ่งที่ขัดข้องในชีวิต ท่านเมตตาเสมอเหมือนกันหมด ไม่ว่ายากดีมีจนมาจากไหนไม่ว่าจะไกลหรือใกล้ โดยไม่แบ่งแยกไม่เคยเรียกร้องสิ่งใดและพ่อท่านเขียวไม่จับ หรือรับเงินที่มาถวายเลย
ตะกรุดนิมิตรพิสมรหลวงปู่ทวด
ส่วนใหญ่คนที่ไปกราบ พ่อท่านเขียว มักจะได้รับพระเครื่องวัตถุ มงคล จากมือพ่อท่านเขียว ส่วนใหญ่จะเป็น ปลัดขิก ผ้ายันต์รับทรัพย์ ตะกรุดนิมิตรพิสมร และหลวงพ่อทวด รุ่นต่างๆตามแต่ท่านจะเมตตา แต่ถ้าใครขอเฉพาะเจาะจงถ้าท่านมีก็จะได้ครับ เป็นการแจกทั้งสิ้น พระเครื่องส่วนใหญ่ไม่มีการเช่าหาแต่อย่างใดๆ แต่ก็จะมีพระเครื่องและวัตถุมงคลของ หลวงปู่เขียว ที่ทางวัดสร้าง หรือลูกศิษย์สร้างขึ้นนั้นจะให้เช่าบูชาที่กุฏิเจ้าอาวาส ไม่ใช่ที่กุฏิท่าน เพราะท่านไม่ยุ่งเกี่ยวกับเงินทอง
เล่าภูมิหลังของท่านมาพอสมควรแล้ว ก็ใคร่จะแนะนำวิชาของท่านที่ทำให้ท่านโด่งดังทั้วฟ้าเมืองไทย คือ วิชารับทรัพย์เพิ่มทรัพย์ พ่อท่านเขียวท่านนำวิชานี้มาสร้างเป็น ผ้ายันต์รับทรัพย์เพิ่มทรัพย์ การพุทธาภิเษกต้องเข้มขลัง เป็นไปตามตำราทุกประการ เพราะผ้ายันต์ของท่านนั้นสามารถพกไว้ในกระเป๋ากางเกงได้ ไม่ว่าหญิงหรือชายไม่มีเสื่อม ซึ่งมีลูกศิษย์ใกล้ชิดเคยถามท่านในข้อนี้ ท่านว่า ทองอยู่ที่ไหนก็คือทอง มิใช่หิน หรือตะกั่ว
ท่านเริ่มทำผ้ายันต์รับทรัพย์ ครั้ง แรกตอนหลานท่านคนหนึ่ง มีปัญหาเรื่องการทำมาหากิน เงินทองไม่คล่องมือ ท่านเลยนำวิชานี้มาทำผ้ายันต์ครั้งแรก ส่วนหลานท่านแต่แรก อยากจะปิดกิจการ แต่พอได้ผ้ายันต์ไปบูชาทำให้กลับมารุ่งเรืองในเวลาไม่กี่เดือน ในตำราได้บอกไว้ว่า อันวิชารับทรัพย์ เพิ่มทรัพย์ นี้ให้นำดินหัวใจแม่โพสพ มาทำดินสอเขียนยันต์ลบผง นำมาสร้างโพธิ์สัตว์ พกติดตัวไม่รู้จักอดยาก โชคลาภ บริบูรณ์ทรัพย์สินเงินทองเต็มเรือน ประดุจท้องพระคลังหลวง หรือจะนำผ้าบังสุกุล เขียนยันต์ด้วยหมึกดีปลาก็วิเศษนักแล เมื่อเจอแล้วทำเอาเถิด มิอดอยาก มิรู้จน ได้เชื่อแล้ว วิชาเป็นของ หลวงพ่อดำ วัดนางโอ พ่อท่านเขียวท่านเรียนมาก่อนหน้านี้ ท่านทำแต่ผ้ายันต์ได้อย่างเข้มขลัง จนมีผู้คนไปขอท่านมากจนทำไม่ทัน
ปลัดขิกพ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ
พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ หรือ พระครูอนุศาสน์กิจจาทร วัดหัวยเงาะ ต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี หรืออีกนามที่ชาวบ้าน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขนานนามว่า เทพเจ้าฝ่ายบู๊แห่งเมือง ลังกาสุกะ ท่าน เป็นพระสมถะ ไม่สะสมทรัพย์ ไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไรฉันก็ฉันง่าย ๆ บางทีก็แบ่งข้าวที่ท่านกำลังฉันให้สุนัขที่ท่านเลี้ยงกินด้วยกันท่านมีเมตตา กับทุก ๆ คน เดือดร้อนอะไรมาท่านก็ช่วยไม่เว้นแม้สุนัขที่ถูกทอดทิ้งท่านก็รับมาเลี้ยง อย่างดี ท่านชอบสอนทุก ๆ คนที่ไปหาท่านให้ทำดี ละเว้นชั่ว ตั้งมั่นในความซื่อสัตย์กตัญญู อดออมทรัพย์สินใช้จ่ายอย่างประหยัด ดังที่ท่านเคยสอนให้เลิกใช้คำว่า “ทำมาหากิน”แต่ให้ใช้คำว่า “ทำมาหาไว้” แทน ในทำนองว่าทำมาหาไว้ อย่ากิน อย่าใช้ จนหมด นั่นเอง
พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะท่านตั้งปฏิปทามั่นใน การอยู่ในพื้นที่อันตรายจ.ปัตตานีไม่คิดย้ายที่อยู่ไปแห่งใหม่ที่ปลอดภัย กว่า ทั้ง ๆ ที่ท่านไม่ได้มีภาระใดใดแล้ว (ท่านไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส)ท่านยังคงอยู่เป็นขวัญกำลังใจของทหารหาญ และพลเรือนในพื้นที่นั้นต่อไปสั่งสอนธรรมะของพุทธองค์สืบไป
ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่3จังหวัดชายแดนใต้
มากราบไหว้พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะเป็นประจำ
ที่มาของฉายานาม เทพเจ้าฝ่ายบู๊ ของพ่อท่านเขียว เพราะท่านได้ทำนายเหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไว้ก่อนล่วงหน้า พร้อมกับสร้าง ตะกรุดพิศมรหลวงปู่ทวด แจก พี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อนมีเหตุการณ์ และตั้งแต่มีเหตุการณ์ยังไม่มีผู้ใดแขวน เครื่องรางของขลังของพ่อท่านเขียวแล้วสังเวยชีวิต ให้กับเหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เลยแม้แต่คนเดียว ส่วนยิงไม่ออก ยิงไม่เข้า ยิงไม่ถูก หรือแม้แต่โดนระเบิดไม่เป็นไร มีให้เห็นอยู่ทุกวัน โดยที่เขาเหล่านั้นแขวนเครื่องรางของขลัง พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ เป็นส่วนมากจึงเป็นที่มาของ เทพเจ้าฝ่ายบู๊แห่งเมืองลังกาสุกะ
|